Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

จิตหลุดพ้น คืออย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์  15 ก.ย. 2555
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหาเป็นผู้ไม่หลุดพ้น;ผู้ไม่เข้าไปหาเป็นผู้หลุดพ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ  ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่  มีรูปเป็นอารมณ์  มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ  ก็ถึงความเจริญ  งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณ  ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่  มีเวทนาเป็นอารมณ์  มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ  ก็ถึงความเจริญ  งอกงาม ไพบูลย์ได้.     

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ  ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่  มีสัญญาเป็นอารมณ์  มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ  ก็ถึงความเจริญ  งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ  ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่  มีสังขารเป็นอารมณ์  มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปสองเสพ  ก็ถึงความเจริญ  งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย !  ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-

เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ(การตาย) การอุบัติ (การเกิด)

ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ

โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร

ดังนี้นั้น นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ

ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.

เพราะละราคะได้ อารมณ์สําหรับวิญญาณก็ขาดลง

ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น

ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง

เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง

เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว

 

ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้สําเร็จแล้ว

กิจอื่นที่จะต้องทําเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)  หน้า ๑๑๔.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๓/๑๐๕.: คลิกดูพระสูตร 

 

     สารีบุตร !  บุคคลที่มีเชื้อ (กิเลส) เหลือ ๙ จำพวก ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้  แม้

ยไป  ก็พ้นแล้วจกนรก พ้นแล้วจากกำเนิดเดรัจฉาน  พ้นแล้วจากวิสัยแห่งเปรต 

พ้นแล้วจากอบาย ทุคติ วินิบาต.

บุคคลเก้าจำพวกเหล่านั้น  เป็นอย่างไรเล่า เก้าจำพวก คือ :-

(๑) สารีบุตร !  บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล  ทำได้

เต็มที่ในส่วนสมธิ  แต่ทำได้พอประมณในส่วนปัญญ.

 เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่าง  ในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนมี

ผู้จะปรินิพพนในระหว่งอยุยังไม่ทันถึงกึ่ง. 

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๑  ที่เมื่อตาย  ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

  

(๒) สารีบุตร !  บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมณในส่วนปัญญ.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่าง  ในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนมี

ผู้จะปรินิพพนเมื่ออยุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด. 

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่  ๒  ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๓) สารีบุตร !  บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมณในส่วนปัญญ.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่าง  ในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนมี

ผู้จะปรินิพพนโดยไม่ต้องใช้ควมเพียรเรี่ยวแรง.

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๓  ที่เมื่อตาย  ก็พ้นแล้วจากนรกจากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๔) สารีบุตร !  บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล  ทำได้เต็มที่ในส่วนสมธิ  แต่ทำได้พอประมณในส่วนปัญญ.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่าง ในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น  อนมี

ผู้จะปรินิพพนโดยต้องใช้ควมเพียรเรี่ยวแรง.

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๔ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๕)  สารีบุตร !  บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมธิ แต่ทำได้ พอประมณในส่วนปัญญ

เพราะทำสังโยชน์ ๕  อย่าง ในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น  อนมี

ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่  ๕ ที่เมื่อตาย  ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๖) สารีบุตร !  บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมณในส่วนสมธิ  ทำได้พอประมณในส่วนปัญญ.

เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่าง ให้สิ้นไป, และเพราะมีราคะ  โทสะ  โมหะ เบาบางน้อยลง, เป็น  สกทมี  ยังจะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. 

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่  ๖  ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๗) สารีบุตร !   บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมณในส่วนสมธิ ทำได้พอประมณในส่วนปัญญ

เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น โสดบันผู้มีพืชหนเดียว คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น  แล้วกระทำ  ที่สุดแห่งทุกข์ได้. 

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๗  ที่เมื่อตาย  ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๘) สารีบุตร !   บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล  แต่ทำได้พอประมณในส่วนสมธิ ทำได้พอประมณในส่วนปัญญ.

เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่าง ให้สิ้นไป, บุคคลผู้นั้นเป็น  โสดบัน  ผู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลอีก ๒ หรือ ๓ ครั้ง แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่  ๘  ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๙) สารีบุตร !  บุคคลบางคนในกรณีนี้  เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมณในส่วนสมธิ ทำได้พอประมณในส่วนปัญญ.

เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่าง ให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น โสดบัน ผู้ต้องเที่ยวไปในเทวดและมนุษย์อีก ๗ ครั้งเป็นอย่งมก  แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. 

สารีบุตร !  นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๙  ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต …

  

พุทธวจน  คู่มือโสดาบัน  หน้า ๑๕๕.

(ภาษาไทย) นวก. อํ. ๒๓/๓๐๕/๒๑๖. : คลิกดูพระสูตร 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  อุปาทานขันธ์  (ความยึดมั่นในธรรมชาติ)  ทั้งหลายเหล่านี้ 

มีอยู่ห้าอย่าง.  ห้าอย่าง  อย่างไรเล่า ห้าอย่าง คือ :-

รูปูปนขันธ์  (ความยึดมั่นในรูปกาย)

เวทนูปนขันธ์[ความยึดมั่นในเวทนา (สุข,ทุกข์,อุเบกขา)]

สัญญูปนขันธ์[ความยึดมั่นในสัญญา (ความจำได้หมายรู้)]

สังขรูปนขันธ์[ความยึดมั่นในสังขาร (ความคิดปรุงแต่ง)]

วิญญณูปนขันธ์[ความยึดมั่นในวิญญาณ (ผู้รู้แจ้งซึ่งอารมณ์)]

ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อใด  อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตมเป็นจริง  ซึ่งควมเกิดขึ้น(สมุทัย)

ซึ่งควมตั้งอยู่ไม่ได้(อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสทะ) ซึ่งโทษอันต่ำทร(อทีนวะ)

และซึ่งอุบยเป็นเครื่องสลัดออก(นิสสรณะ) แห่งอุปนขันธ์ทั้งห้เหล่านี้;

ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกนี้  เราเรียกว่า  เป็น โสดบัน  มีอันไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา  เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน  มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.

ภิกษุทั้งหลาย !  อุปาทานขันธ์เหล่านี้  มีอยู่ห้าอย่าง. 

ห้าอย่างอย่างไรเล่า ห้าอย่าง คือ :-  

รูปูปนขันธ์   เวทนูปนขันธ์   สัญญูปนขันธ์  

สังขรูปนขันธ์  วิญญณูปนขันธ์

 

ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อใด ภิกษุ  รู้ชัดแจ้งตมเป็นจริง 

ซึ่งควมเกิดขึ้น  ซึ่งควมตั้งอยู่ไม่ได้  ซึ่งรสอร่อย 

ซึ่งโทษอันต่ำทรม  และซึ่งอุบยเป็นเครื่องสลัดออก 

แห่งอุปนขันธ์ทั้งห้เหล่นี้  ดังนี้แล้ว

เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว  เพระไม่มีควมยึดมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว 

อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว  ทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว  มีภาระอันปลงลงแล้ว 

มีประโยชน์ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว

เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ดังนี้ แล.

พุทธวจน  คู่มือโสดาบัน  หน้า ๑๓๙.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๕๓/๒๙๖-๒๙๗. : คลิกดูพระสูตร 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  นะที่ไม่อจเป็นไปได้  ๖ ประก  เหล่านี้  มีอยู่. 

หกประการ  เหล่าไหนเล่า ?  หกประการ  คือ : -

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ   ไม่อจอยู่  อย่งไม่มีควมเครพยำเกรง ในพระศสด;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ   ไม่อจอยู่  อย่งไม่มีควมเครพยำเกรง ในพระธรรม;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ   ไม่อจอยู่  อย่งไม่มีควมเครพยำเกรง ในพระสงฆ์;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ   ไม่อจอยู่  อย่งไม่มีควมเครพยำเกรง ในสิกข;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ   ไม่อจ  มสู่อนคมนียวัตถุ(วัตถุที่ไม่ควรเข้);

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ   ไม่อจ  ยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย !  เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้  (โดยธรรมชาติ)  ๖ ประการเหล่านี้  มีอยู่.  

หกประการ  เหล่าไหนเล่า ?  หกประการ คือ :-

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ  ไม่อจเข้ถึงสังขรไรๆ  โดยควมเป็นของเที่ยง;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ  ไม่อจเข้ถึงสังขรไรๆ  โดยควมเป็นของสุข;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ  ไม่อจเข้ถึงธรรมะไรๆ  โดยควมเป็นตัวตน;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ  ไม่อจกระทำอนันตริยกรรม;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ  ไม่อจหวังกรถึงควมบริสุทธิ์ โดยโกตุหลมงคล;

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ  ไม่อจแสวงหทักขิเณยยบุคคลภยนอกจกศสนานี้

ภิกษุทั้งหลาย !  เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

       

พุทธวจน คู่มือโสดาบัน  หน้า ๑๑๐.

(ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๖๓-๓๖๔. : คลิกดูพระสูตร 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตติ (ผู้หลุดพ้นด้วยสัทธา) เป็นอย่างไร เล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !  ในกรณีนี้   บุคคลบางคนวิโมกข์เหล่าใด  อันไม่เกี่ยวกับรูป

เพราะก้าวล่วงรูปเสียได้  อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรํางับ  มีอยู่, เขาหาได้ถูกต้องวิโมกข์

เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ไม่  แต่ว่า

อาสวะทั้งหลายบางเหล่าของเขานั้นสิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา.  

อนึ่ง สัทธาของเขานั้น เป็นสัทธาที่ ปลงลงแล้วหมดสิ้น  มีมูลรากเกิดแล้ว ตั้งอยู่

แล้วอย่างมั่นคงในตถาคต.   

ภิกษุทั้งหลาย !   นี้เราเรียกว่า  บุคคลผู้เป็น  สัทธาวิมุตติ. 

 

ภิกษุทั้งหลาย !   สําหรับภิกษุแม้นี้  เราก็กล่าวว่ายังมีอะไร ๆ  ที่เธอต้องทําด้วยความไม่ประมาท.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?   เพราะเหตุว่า   ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้  จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร  จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร  จะบ่มอยูซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย 

ก็จะทําให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์  อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า  ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนโดยชอบ  ได้้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม  เข้าถึงแล้วแลอยู่.  

ภิกษุทั้งหลาย !  เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้   สําหรับภิกษุนี้อยู่

จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ  ที่เธอนั้นต้องทําด้วยความไม่ประมาท  ดังนี้.

อริยสัจจากพระโอษฐ ภาคต้น  หน้า ๖๖๙.

(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๑๘๐/๒๓๕.  : คลิกดูพระสูตร 

 

อานนท์ !  อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)

ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ !  ในกรณีนี้    

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจไม่เป็นที่ชอบใจทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง(สงฺขต)

เป็นของหยาบๆ(โอฬาริก)  เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น(ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต,กล่าวคืออุเบกขาดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจไม่เป็นที่ชอบใจ-ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น  ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ !  อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจไม่เป็นที่ชอบใจ-ทั้งเป็นที่ชอบใจ

และไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน,อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ !  นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย

ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วย

ผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกันต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับ

แห่งอารมณ์นั้นๆ, คือ  กรณีเสียง  เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ, กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว, กรณีรสเปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำาลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,กรณีธรรมารมณ์  เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

   

พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)  หน้า ๑๑๒.

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๙/๘๕๖๘๖๑. : คลิกดูพระสูตร 

 

ภิกษุทั้งหลาย !       รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง  

สิ่งใด ไม่เที่ยง        สิ่งนั้นเป็นทุกข์

สิ่งใด เป็นทุกข์       สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใด เป็นอนัตตา    สิ่งนั้น 

นั่น  ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เป็นเรา  ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา :

เธอทั้งหลาย  พึงเห็นข้อนั้น  ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริง  อย่างนี้

ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับ

ในกรณีแห่งรูปทุกประการ)

ภิกษุทั้งหลาย ! 

เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ 

ปุพพันตานุทิฏฐิ  (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต)  ทั้งหลาย  ย่อมไม่มี

 

เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี 

อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลาย(ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมไม่มี

เมื่ออปรันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี 

ความยึดมั่นลูบคลําอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี

 

เมื่อความยึดมั่นลูบคลําอย่างแรงกล้าไม่มี 

จิตย่อมจางคลายกําหนัด  ในรูป  ในเวทนา  ในสัญญา  ในสังขารทั้งหลาย  

ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น

เพราะหลุดพ้นแล้ว  จึงดํารงอยู่ 

เพราะดํารงอยู่  จึงยินดีร่าเริงด้วยดี

เพราะยินดีร่าเริงด้วยดี  

จึงไม่หวาดสะดุ้ง  เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง

ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว

 

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ได้ทําสําเร็จแล้ว

กิจอื่นที่จะต้องทําเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกดังนี้.

พุทธวจน  ภพภูมิหน้า ๔๗๘.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๕/๙๓. : คลิกดูพระสูตร 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า

เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ; ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา;

ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง;

ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง.

อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ?

เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

 

อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ?

เธอย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร?

เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

 

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ?

เธอย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร

ซึ่งวิญญาณ.

 

ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ.

 

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด,เพราะความคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น,

เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

 

อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำาเร็จแล้ว

กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)  หน้า ๑๐๓.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๘/๑๖๓.  : คลิกดูพระสูตร 

 

สารีบุตร !  เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน

และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน

อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

เข้าถึงแล้วแลอยู่ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

 

สารีบุตร !  เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีนอันใส สะอาดเย็น ใสตลอด

มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกลสระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ

 

ลําดับนั้น  บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา  เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย  มุ่งมาสู่

สระโบกขรณีนั้นแหละ  โดยมรรคาสายเดียว  บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว

อย่างนี้ว่า  บุรุษผู้เจริญนี้  ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น

จักมาถึงสระโบกขรณีนี้ทีเดียว

โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น อาบและดื่ม

ระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความร้อนหมดแล้ว ขึ้นไปนั่ง

หรือนอนในแนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด.

สารีบุตร !  เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักกระทําให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุตติ  ปัญญาวิมุตติ  อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน  เข้าถึงแล้วแลอยู่

โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

เข้าถึงแล้วแลอยู่ (ย่อม) เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว.

พุทธวจน  ภพภูมิหน้า ๔๓๘.

(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๑๐๕/๑๗๖.  : คลิกดูพระสูตร 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม

๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.  ๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ :- 

(๑) ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)

(๒) ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)

(๓) เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

ภิกษุทั้งหลาย !  ๓ อย่าง เหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม.

พุทธวจน  ภพภูมิหน้า ๔๖๘.

(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗.: คลิกดูพระสูตร 

     

Today5
Yesterday451
This week1759
This month9005
Total2356348

Who Is Online

29
Online