Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ภิกษุห้ามรับหรือให้รับซึ่งทองเงิน หรือยินดีในทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ ดังนั้นภิกษุจะเกี่ยวข้องกับเงินที่ฆราวาสปาวารณาได้อย่างไร จึงไม่เป็นอาบัติ

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

บริษัท อาหารยอดคุณ  วันที่ 27 มิ.ย. 2555

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

เสียง

ยุวพุทธิกสมาคม วันที่ 30 ม.ค. 51  (ยุวพุทธ 2 track 13)

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง


พระบัญญัติ ๓๗. ๘.

อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 

สิกขาบทวิภังค์

[๑๐๖] บทว่า อนึ่ง ... ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ.

ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่กหาปณะ

มาสกที่ทำด้วยโลหะ

มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง

ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.

บทว่า รับ คือรับเอง เป็นนิสสัคคีย์.

บทว่า ให้รับ คือให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.

บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้

ความว่า หรือยินดี ทอง เงินที่เขาเก็บ ไว้ให้ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น, เป็นนิสสัคคีย์ทองเงินที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น อย่างนี้

 

(ไทย) วิ. มหา. ๒/๑๐๘/๑๐๕:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) วิ. มหา. ๒/๘๙/๑๐๕:คลิกดูพระสูตร

 

 

๒๙.๑๐ อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่าย จ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร, ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร,

ภิกษุ นั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับ แต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล; ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็น ไวยาวัจกรของท่านมีหรือ?

ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย, ถ้าทูต นั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดง เป็นไวยาวัจกรนั้น, ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว; ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครอง จีวรตามกาล,

ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้ง ว่า รูปต้องการจีวร; ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สองสามครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, พึง- ยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก; เธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก; ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้, การให้สำเร็จได้ ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวร นั้นให้สำเร็จ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์; ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้, ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ, บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ไปเฉพาะภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวง เอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย; นี้เป็นสามีจิกรรมใน เรื่องนั้น.

 

(ไทย) วิ. มหา. ๒/๖๕/๗๐:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) วิ. มหา. ๒/๕๔/๗๐:คลิกดูพระสูตร

 

 

Today657
Yesterday726
This week4411
This month12957
Total2462724

Who Is Online

20
Online