Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

วิธีทำสมาธิ

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

วิดีโอ 1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
เสถียรธรรมสถาน 29 ม.ค. 2554

ดาวน์โหลด : วิดีโอ , mp3

 

เสียง 1



บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ยุวพุทธ 3    24 ม.ค. 2552  (Track 1)

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตามย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ (ขัดสมาธิ)ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า,

เธอเป็นผู้มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ()

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว,

หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาวหรือว่า ()

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น,

หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น, ()

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า,

เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก, ()

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้รำงับ จักหายใจเข้า,

เราทำกายสังขารให้รำงับ จักหายใจออก,

เช่นเดียวกับนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงยาวเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้นฉันใดก็ฉันนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่

ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายในอยู่บ้าง,

ในกายอันเป็นภายนอกอยู่บ้างในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง;

และเป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง,

เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง,

เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไปในกายอยู่บ้างก็แหละ

สติว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึกที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหา และทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานาปานสติ หน้า ๔๕-๔๖

(ไทย)  มหาที๑๐/๒๑๖/๒๗๔คลิกดูพระสูตร

(บาลี)  มหาที๑๐/๓๒๒/๒๗๔: คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุเจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน

ทำตามคำสอนของพระศาสดาปฏิบัติตามโอวาท

ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า

ก็จะป่วยกล่าวไปไย ถึงผู้กระทำให้มากซึ่งอานาปานสตินั้นเล่า.

 

 

หนังสืออานาปานสติ หน้า ๘๑

(ไทย)เอก. อํ. ๒๐/๔๑-๔๒/๒๒๔ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี)เอก. อํ. ๒๐/๕๔-๕๕/๒๒๔ :คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว

อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า

หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ

ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า

มีสติหายใจออก :

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ

กายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้

พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้

พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ

จิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ) หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม

เฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้

พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต

ให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า

“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต

ให้ตั้งมั่น (สมาทหํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิต

ให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต

ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ

จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า

“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า

“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า

“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำหายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง

ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ

ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้;

คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน

หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.

(ไทย)มหาวาร. สํ. ๑๙/ ๓๒๐/๑๓๑๑-๑๓๑๓: คลิกดูพระสูตร

(บาลี)มหาวาร. สํ. ๑๙/ ๓๙๖/๑๓๑๑-๑๓๑๓: คลิกดูพระสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส;

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ส้องเสพแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นส้องเสพแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว,  ดังนี้.

อานาปานสติ หน้า ๑๔๑

(ไทย)เอกอํ๒๐/๔๒-๔๕/๒๒๕-๒๔๖. : คลิกดูพระสูตร

(บาลี)เอกอํ๒๐/๕๕-๕๘/๒๒๕-๒๔๖. : คลิกดูพระสูตร


 

 

 

Today302
Yesterday429
This week2044
This month1193
Total2359187

Who Is Online

9
Online