คลิปสั้น : สัจจะความจริง
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้, สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ :- รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม (กามตัณหา), ตัณหาในความมีความเป็น (ภวตัณหา), ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น (วิภวตัณหา). ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนั่นเอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :- ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ, การพูดจาชอบ, การงานชอบ, การเลี้ยงชีพชอบ, ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด. ตามรอยธรรม หน้า ๑๓ (ไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๒/๑๖๗๘-๑๖๘๓. : คลิกดูพระสูตร (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๒/๑๖๗๘-๑๖๘๓. : คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ญาณวัตถุ๔๔ อย่างเป็นอย่างไรเล่า ? ญาณวัตถุ๔๔ อย่างคือ :-
(หมวด๑)
๑. ญาณคือความรู้ในชรามรณะ; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชรา มรณะ; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;
(หมวด๒)
๑. ญาณคือความรู้ในชาติ; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชาติ; ๔. ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ;
(หมวด๓)
๑. ญาณคือความรู้ในภพ; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งภพ; ๔. ญาณคือ ความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ;
(หมวด๔)
๑. ญาณคือความรู้ในอุปาทาน; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่ง อุปาทาน; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน;
(หมวด๕)
๑. ญาณคือความรู้ในตัณหา; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งตัณหา; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา;
(หมวด๖)
๑. ญาณคือความรู้ในเวทนา; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา;
(หมวด๗)
๑. ญาณคือความรู้ในผัสสะ; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
(หมวด๘)
๑. ญาณคือความรู้ในสฬายตนะ; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ;
(หมวด๙)
๑. ญาณคือความรู้ในนามรูป; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งนามรูป; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
(หมวด๑๐)
๑. ญาณคือความรู้ในวิญญาณ; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่ง วิญญาณ; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
(หมวด๑๑)
๑. ญาณคือความรู้ในสังขารทั้งหลาย; ๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร; ๓. ญาณคือความรู้ในความดับไม่ เหลือแห่งสังขาร; ๔. ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง.
(ไทย)นิทาน. สํ. ๑๖/๕๒-๕๕/๑๑๘-๑๒๕
:คลิกดูพระสูตร (บาลี)นิทาน. สํ. ๑๖/๖๗-๗๐/๑๑๘-๑๒๕
:คลิกดูพระสูตร ญาณวัตถุ ๗๗ ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ญาณวัตถุ๗๗อย่างเป็นอย่างไรเล่า ? ญาณวัตถุ ๗๗ อย่างนั้นคือ :-
(หมวด๑)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๒)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๓)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๔)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปทาน; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๕)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๖)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๗)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๘)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๙)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวด๑๐)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
(หมวดที่๑๑)
๑. ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; ๒. ญาณคือความรู้ว่าเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๓. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; ๔. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๕. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย; ๖. ญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มี; ๗. ญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ๗๗อย่างดังนี้แล.
(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๕๓-๕๖/๑๒๖-๑๒๗:คลิกดูพระสูตร
(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๗-๗๐/๑๒๖-๑๒๗:
คลิกดูพระสูตร
ความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ [๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕ [๔๐] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕ [๔๑] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. (ไทย) ข.สํ. ๑๗/๒๐/๓๙-๔๑.คลิกดูพระสูตร (บาลี) ข.สํ. ๑๗//๓๙-๔๑.คลิกดูพระสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี... ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ที่ปลายพระนขา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ที่ปลายเล็บนี้กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนมากกว่ากัน ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนั่นแหละมากกว่าฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขานี้ มีประมาณน้อยย่อมไม่ถึงแม้ซึ่ง การนับ ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งการเทียบเคียง ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งเสี้ยว เพราะเทียบ มหาปฐพีเข้าแล้ว ฝุ่นที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขา มีประมาณเล็กน้อยฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีประมาณน้อย สัตว์ไปเกิด ในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มีมากกว่ามากทีเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้นเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละฯ (ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๖๖/๖๖๓: คลิกดูพระสูตร (บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐๗/๖๖๓: คลิกดูพระสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีป ประเสริฐกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่มีทุกข์ ๑ ไม่มีความหวงแหน ๑ มีอายุแน่นอน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปประเสริฐกว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปและ พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อายุทิพย์ ๑ วรรณะทิพย์ ๑ สุขทิพย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ ชาวอุตรกุรุทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปและ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้กล้า ๑ เป็นผู้มีสติ ๑ เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปและพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ (ไทย)สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๑๙/๒๒๕.คลิกดูพระสูตร (บาลี)สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๐๘/๒๒๕.คลิกดูพระสูตร