Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

คลิปสั้น : สัจจะความจริง

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

ก่อนฉัน  15 ธ.ค. 56
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์และความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? 

คือ :- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง.

ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ :-

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่

ตัณหาในกาม (กามตัณหา),

ตัณหาในความมีความเป็น (ภวตัณหา),

ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น (วิภวตัณหา).

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนั่นเองได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-

ความเห็นชอบความดำริชอบ,

การพูดจาชอบการงานชอบการเลี้ยงชีพชอบ,

ความเพียรชอบความระลึกชอบความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด.

ตามรอยธรรม หน้า ๑๓

(ไทย) มหาวารสํ๑๙/๔๒๒/๑๖๗๘-๑๖๘๓. : คลิกดูพระสูตร

 (บาลี) มหาวารสํ๑๙/๔๒๒/๑๖๗๘-๑๖๘๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ญาณวัตถุ๔๔ อย่างเป็นอย่างไรเล่า ? 

ญาณวัตถุ๔๔ อย่างคือ :-


 

(หมวด)


ญาณคือความรู้ในชรามรณะญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชรา

มรณะญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;


(หมวด)

ญาณคือความรู้ในชาติญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชาติญาณ

คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ;


(หมวด)

ญาณคือความรู้ในภพญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งภพญาณคือ

ความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ;


(หมวด)


ญาณคือความรู้ในอุปาทานญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทานญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่ง

อุปาทานญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน;


(หมวด)


ญาณคือความรู้ในตัณหาญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหาญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งตัณหา

ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา;


(หมวด)

ญาณคือความรู้ในเวทนาญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนาญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งเวทนา

ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา;


(หมวด)

ญาณคือความรู้ในผัสสะญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ

ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;


(หมวด)

ญาณคือความรู้ในสฬายตนะญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่ง

สฬายตนะญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ;


(หมวด)


ญาณคือความรู้ในนามรูปญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูปญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งนามรูป

ญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;


(หมวด๑๐)


ญาณคือความรู้ในวิญญาณญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณญาณคือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่ง

วิญญาณญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;


(หมวด๑๑)


ญาณคือความรู้ในสังขารทั้งหลายญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขารญาณคือความรู้ในความดับไม่

เหลือแห่งสังขารญาณคือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร

           ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง.
 

 

(ไทย)นิทานสํ๑๖/๕๒-๕๕/๑๑๘-๑๒๕









:คลิกดูพระสูตร

(บาลี)นิทานสํ๑๖/๖๗-๗๐/๑๑๘-๑๒๕









:คลิกดูพระสูตร

 

ญาณวัตถุ ๗๗

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ญาณวัตถุ๗๗อย่างเป็นอย่างไรเล่า ? ญาณวัตถุ ๗๗ อย่างนั้นคือ :-
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะญาณคือความรู้ว่าเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อชาติไม่มีชรามรณะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติญาณคือความรู้ว่าเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพญาณคือความรู้ว่าเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทานญาณคือความรู้ว่าเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปทานญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทานญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาญาณคือความรู้ว่าเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อเวทนาไม่มีตัณหาย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนาญาณคือความรู้ว่าเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนาญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนาญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อผัสสะไม่มีเวทนาย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะญาณคือความรู้ว่าเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสฬายตนะไม่มีผัสสะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะญาณคือความรู้ว่าเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อนามรูปไม่มีสฬายตนะย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูปญาณคือความรู้ว่าเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูปญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูปญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อวิญญาณไม่มีนามรูปย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวด๑๐)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณญาณคือความรู้ว่าเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีวิญญาณย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา;
 


(หมวดที่๑๑)
 
ญาณคือความรู้ว่าเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลายญาณคือความรู้ว่าเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลายญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลายญาณคือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเมื่ออวิชชาไม่มีสังขารทั้งหลายย่อมไม่มีญาณคือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไปเป็นธรรมดา

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่าญาณวัตถุ๗๗อย่างดังนี้แล.


 


(ไทยนิทานสํ๑๖/๕๓-๕๖/๑๒๖-๑๒๗:คลิกดูพระสูตร












(บาลีนิทานสํ๑๖/๖๗-๗๐/๑๒๖-๑๒๗:









คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

ความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕

 [๓๙ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยงดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕

[๔๐พระนครสาวัตถีณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    ความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕

[๔๑พระนครสาวัตถีณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 

(ไทย) ข.สํ. ๑๗/๒๐/๓๙-๔๑.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ข.สํ. ๑๗//๓๙-๔๑.คลิกดูพระสูตร

 

 

 

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี... ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ที่ปลายพระนขา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ที่ปลายเล็บนี้กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนมากกว่ากัน ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนั่นแหละมากกว่าฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขานี้ มีประมาณน้อยย่อมไม่ถึงแม้ซึ่ง การนับ ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งการเทียบเคียง ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งเสี้ยว เพราะเทียบ มหาปฐพีเข้าแล้ว ฝุ่นที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขา มีประมาณเล็กน้อย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีประมาณน้อย  สัตว์ไปเกิด ในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มีมากกว่ามากทีเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้นเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละฯ

 

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๖๖/๖๖๓: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐๗/๖๖๓: คลิกดูพระสูตร

 

 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย

มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีป ประเสริฐกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ

ไม่มีทุกข์ ๑

ไม่มีความหวงแหน ๑

มีอายุแน่นอน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปประเสริฐกว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปและ พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ

๓ ประการเป็นไฉน คือ

อายุทิพย์ ๑

วรรณะทิพย์ ๑

สุขทิพย์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ ชาวอุตรกุรุทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปและ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ

๓ ประการเป็นไฉน คือ

เป็นผู้กล้า ๑

เป็นผู้มีสติ ๑

เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปประเสริฐกว่า

พวกมนุษย์ชาวอุตรกุรุทวีปและพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ฯ

 

 (ไทย)สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๑๙/๒๒๕.คลิกดูพระสูตร

(บาลี)สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๐๘/๒๒๕.คลิกดูพระสูตร

 

 

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรวาเสฏฐะ เราจักพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายตามลำดับตามสมควร สัตว์ทั้งหลายมี ความแตกต่างกันโดยชาติ เพราะชาติของสัตว์เหล่านั้น มีประการต่างๆ กัน ท่านทั้งหลายย่อมรู้จักหญ้าและต้นไม้ แต่หญ้าและต้นไม้ ก็ไม่ ยอมรับว่าเป็นหญ้าเป็นต้นไม้ หญ้าและต้นไม้เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จ มาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน
 
แต่นั้นท่านทั้งหลายจงรู้จัก หนอน ตั๊กแตน มดดำ และมดแดง สัตว์เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จ มาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน ท่านทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท้า ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ สัตว์เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะ ชาติของมันต่างๆ กัน
 
ต่อแต่นั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จักปลาที่เกิดในน้ำเที่ยวไปในน้ำ ปลาเหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของ มันมีต่างๆ กัน
 
ถัดจากนั้นท่านทั้งหลายจงรู้จักนกที่บินไปในเวหา นก เหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่างๆ กัน เพศ ที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมาก ไม่มีในมนุษย์ทั้งหลายเหมือนอย่างสัณฐานที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมากในชาติเหล่านี้ ฉะนั้น
 
การกำหนดด้วยผม ศีรษะ หู นัยน์ตา ปากจมูก ริมฝีปาก คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง ตะโพก อกที่แคบ เมถุน มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขา วรรณะหรือเสียง ว่าผมเป็นต้น ของพราหมณ์เป็นเช่นนี้ ของกษัตริย์เป็นเช่นนี้ย่อมไม่มีเลย เพศที่สำเร็จมาแต่ชาติไม่มีในมนุษย์ ทั้งหลายเลย เหมือนอย่างสัณฐานที่สำเร็จมาแต่ชาติในชาติเหล่าอื่น ฉะนั้น
 
ความแตกต่างกันแห่งสัณฐานมีผมเป็นต้นนี้ ที่สำเร็จมาแต่กำเนิด ย่อมไม่มีในสรีระของตนๆ เฉพาะในตัวมนุษย์ทั้งหลายเลย แต่ความ ต่างกันในมนุษย์ทั้งหลาย บัณฑิตกล่าวไว้โดยสมัญญา
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ใน หมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีพด้วยศิลปะเป็นอันมาก ผู้นั้นเป็นศิลปิน มิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้ หนึ่ง อาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้ามิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วย การรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้รับใช้ มิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้ นั้นเป็นโจร มิใช่พราหมณ์
 
ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ใน หมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยลูกศรและศาตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นนักรบ อาชีพ มิใช่พราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีพด้วยความเป็นปุโรหิต ผู้นั้นเป็นผู้ยังบุคคลให้บูชา มิ ใช่เป็นพราหมณ์ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใด ผู้หนึ่งปกครองบ้านและแว่นแคว้น ผู้นั้นเป็นพระราชามิใช่พราหมณ์
 
ก็เราหากล่าวผู้เกิดแต่กำเนิดในท้องมารดาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ ผู้นั้น เป็นผู้ชื่อว่าโภวาที ผู้นั้นแลยังเป็นผู้มีเครื่องกังวล
 
ผู้เรียกว่า พราหมณ์ ได้แก่
 
- เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ มีเครื่องกังวลผู้ไม่ถือมั่น
- เรากล่าวผู้ตัดสังโยชน์ได้ ทั้งหมด ไม่สะดุ้งเลย ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว พรากโยคะทั้ง ๔ ได้แล้ว
- เรากล่าวผู้ที่ตัดชะเนาะคือความโกรธ เชือก คือ ตัณหา หัวเงื่อน คือทิฐิ ๖๒ พร้อมทั้งสายโยง คือ อนุสัย เสียได้ ผู้มีลิ่มสลักอันถอดแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว
- เรากล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นได้ซึ่งคำด่าว่า การทุบตีและการจองจำ ผู้ มีกำลังคือขันติ ผู้มีหมู่พลคือขันตี
- เรากล่าวผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีกิเลสอันฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด
- เรากล่าวผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย ดุจน้ำไม่ติด อยู่ในใบบัว ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลม
- เรากล่าวผู้รู้ชัดความสิ้นไปแห่งทุกข์ของตน ในศาสนา นี้แล ผู้ปลงภาระแล้วพรากกิเลสได้หมดแล้ว
- เรากล่าวผู้มีปัญญาลึกซึ้ง มีเมธา ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง ผู้บรรลุถึง ประโยชน์อันสูงสุด
- เรากล่าวผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยคน ๒ พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป มีความ ปรารถนาน้อย
- เรากล่าวผู้วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งผู้ที่สะดุ้งและมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
- เรากล่าวผู้ไม่ปองร้าย ผู้ดับเสียได้ในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในผู้ ที่มีความยึดถือ
- เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะ ให้ตกไปแล้ว ดุจเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลม
- เรากล่าวผู้เปล่งถ้อยคำไม่หยาบ ให้รู้ความกันได้ เป็นคำจริงซึ่งไม่เป็นเหตุทำใครๆ ให้ข้องอยู่
- ก็เรากล่าวผู้ไม่ถือเอาสิ่งของยาวหรือสั้น น้อยหรือใหญ่ งามและไม่งาม ซึ่งเจ้าของมิได้ให้แล้วในโลก
- เรากล่าวผู้ไม่มีความ หวังทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ผู้สิ้นหวัง พรากกิเลสได้หมดแล้ว
- เรากล่าวผู้ไม่มีความอาลัย รู้แล้วทั่วถึง ไม่มีความ สงสัย หยั่งลงสู่นิพพาน ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
- เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้ง ๒ ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้แล้ว ไม่ มีความเศร้าโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์แล้ว
- เรากล่าวผู้ มีความยินดีในภพหมดสิ้นแล้วผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัวดุจ พระจันทร์ที่ปราศจากมลทิน
- เรากล่าวผู้ล่วงทางอ้อม หล่มสงสาร โมหะเสียได้ เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง เพ่งฌาน ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย ดับกิเลสได้แล้วเพราะไม่ถือมั่น
- เรากล่าวผู้ละกามในโลกนี้ได้เด็ดขาดเป็นผู้ไม่มีเรือน บวชเสียได้ มี กามราคะหมดสิ้นแล้ว
- เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้ เด็ดขาด เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้น มีตัณหาและภพหมดสิ้นแล้ว
- เรากล่าวผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์ แล้วล่วงโยคะที่ เป็นของทิพย์เสียได้ ผู้พรากแล้วจากโยคะทั้งปวง
- เรากล่าวผู้ละความยินดีและความไม่ยินดีเป็นผู้เยือกเย็น หาอุปธิมิได้ ผู้ครอบงำโลกทั้งปวง มีความเพียร
- เรากล่าวผู้รู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยอาการทั้งปวง ผู้ไม่ข้อง ไปดี ตรัสรู้ แล้ว
- เรากล่าวผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์รู้คติไม่ ได้ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
- เรากล่าวผู้ไม่ มีเครื่องกังวลในขันธ์ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่มีเครื่อง กังวล ไม่ยึดถือ
- เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ เป็น นักปราชญ์ แสวงหาคุณใหญ่ชนะมาร ไม่มีความหวั่นไหว ล้างกิเลส หมด ตรัสรู้แล้ว
- เรากล่าวผู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย และถึงความสิ้นไปแห่งชาติแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ นามและโคตรที่เขากำหนดกัน เป็นบัญญัติในโลก นามและโคตรมา แล้วเพราะการรู้ตามกันมา ญาติสาโลหิตทั้งหลาย กำหนดไว้ในกาลที่ บุคคลเกิดแล้วนั้นๆนามและโคตรที่กำหนดกันแล้วนี้ เป็นความเห็น ของพวกคนผู้ไม่รู้ ซึ่งสืบเนื่องกันมาสิ้นกาลนาน
 
พวกคนผู้ไม่รู้ย่อมกล่าวว่าบุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะ ชาติก็หามิได้ แต่
เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม
เป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นผู้รับใช้ เป็นโจร เป็นนักรบอาชีพ เป็นปุโรหิต และแม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม
 
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรม และวิบาก ย่อมเห็นกรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้ โลกย่อมเป็นไป เพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรมสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น เครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนหมุดแห่งรถที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น บุคคล เป็นพราหมณ์เพราะกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะ สัญญมะ พรหม จรรย์ และทมะ กรรมนี้ นำความเป็นพราหมณ์ที่สูงสุดมาให้ บุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยไตรวิชชา เป็นคนสงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้วเป็น พราหมณ์ผู้องอาจของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิดวาเสฏฐะฯ
 
 
(ไทย)  สุ.ขุ. ๒๕/๓๓๘/๓๘๒.คลิกดูพระสูตร
(บาลี)  สุ.ขุ. ๒๕/๔๕๑/๓๘๒.คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

Today903
Yesterday1254
This week5708
This month15726
Total2523031

Who Is Online

43
Online