Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

คลิปสั้น : นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

หลังฉัน  10 พ.ย. 56
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3


 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้เห็นอย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรราธะ

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขาร เหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้

อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ดูกรราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และ

ในสรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

 

(ไทย) ขนฺธ สํ. ๑๗/๗๙/๑๔๗.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ สํ. ๑๗/๙๘/๑๔๗.คลิกดูพระสูตร 

 พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า

นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า

นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า

นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า

นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

 

(ไทย) มหา. วิ. ๔/๒๑/๒๑ .คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหา. วิ. ๔/๒๖/๒๑ .คลิกดูพระสูตร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้

 

เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ

วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่ เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของ เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

 

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 

 

(ไทย) ขนฺธ สํ. ๑๗/๒๑/๔๒.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ สํ. ๑๗/๒๘/๔๒.คลิกดูพระสูตร

 

 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของรูปทั้งหลาย?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละในโลกนี้ โดยสมัยอื่น มีอายุ ๘๐-๙๐ หรือ ๑๐๐ ปี โดยกำเนิด เป็นยายแก่ มีซี่โครงคดดังกลอนเรือนร่างขดงอ ถือไม้เท้ากระงกกระเงิ่น เดินสั่นระทวย กระสับกระส่าย ผ่านวัยเยาว์ไปแล้วมีฟันหลุด ผมหงอก ผมโกร๋น ศีรษะล้าน เนื้อเหี่ยว มีตัว ตกกระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มี ในครั้งก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละมีอาพาธ มีทุกข์ เจ็บหนัก นอนจมมูตรคูถของตน ต้องให้คนอื่นพยุงลุก ต้องให้คนอื่นคอยประคอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพ ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายได้ ๑ วันก็ดี ตายได้ ๒ วันก็ดี ตายได้ ๓ วันก็ดี เป็นซากศพขึ้นพอง ก็ดี มีสีเขียวก็ดี เกิดหนอนชอนไชก็ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้ง ไว้ในป่าช้า ฝูงการุมกันจิกกินบ้าง ฝูงแร้งรุมกันจิกกินบ้าง ฝูงนกเค้ารุมกันจิกกินบ้าง ฝูงสุนัขรุม กันกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงปาณกชาติต่างๆ รุมกันกัดกินบ้าง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้ ในป่าช้า มีแต่โครงกระดูก มีเนื้อและเลือดติดอยู่ มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ปราศจาก เนื้อเปื้อนเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูกปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ เป็นแต่กระดูก ปราศจากเอ็นยึด กระจัดกระจายไปในทิศน้อยทิศใหญ่ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกสะเอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลัง ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกทางหนึ่ง กระดูกแขนทางหนึ่ง กระดูกไหล่ทาง หนึ่ง กระดูกคอทางหนึ่ง กระดูกคางทางหนึ่ง กระดูกฟันทางหนึ่ง หัวกระโหลกทางหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งที่มีในก่อนนั้น หายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวนั้นแหละ เป็นซากศพถูก ทิ้งไว้ในป่าช้า เหลือแต่กระดูกสีขาว เปรียบเทียบได้กับสีสังข์ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกตกค้างแรมปี เรียงรายเป็นหย่อมๆ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกผุแหลกยุ่ย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญ ข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?

ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

  

(ไทย) มู. ม. ๑๒/๑๑๙/๒๐๒.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มู. ม. ๑๒/๑๗๒/๒๐๒.คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ท. !  สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม   ๓  อย่าง    เหล่านี้   มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า ?  สามอย่างคือ :-

๑.  มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);

๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;

๓.  เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ   (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

ภิกษุ ท. !  สามอย่างเหล่านี้แล  คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.

 

ภิกษุ ท. !  อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม  ๓  อย่างเหล่านี้   มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า ?  สามอย่างคือ :-

๑.  ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;

๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;

๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

ภิกษุ ท. !  สามอย่างเหล่านี้แล   คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

                      

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๔๔๘

                             (ไทย)ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๖-๔๘๗. :คลิกดูพระสูตร

 

                             (บาลี)ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗. :คลิกดูพระสูตร

 

  

  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรกัจจานะ โลกนี้ ดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ

ความ มี ๑

ความไม่มี ๑

ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี

เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็น ที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่าทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิด ขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้อง เชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะจึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ [๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

 

 (ไทย) นิทาน.สํ.๑๖/๑๕/๔๓.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน.สํ.๑๖/๒๐/๔๓.คลิกดูพระสูตร

  

 [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุป บาทเป็นอย่างดีว่า

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ

 

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

 

ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชราและ มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้

ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ

 

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๘/๑๕๔.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๘๓/๑๕๔.คลิกดูพระสูตร

 

อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร? 

ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ 

ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. 

ย่อมละทิ้งอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร? 

ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 

ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. 

ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้? 

ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 

ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. 

ย่อมทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น? 

ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด

ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น. 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ 

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ 

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. 

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ 

แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่น 

แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ 

แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น 

แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.

 

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๙/๑๖๔ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๙/๑๖๔ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

Today216
Yesterday462
This week1529
This month678
Total2358672

Who Is Online

27
Online