Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ลำดับการหลุดพ้นเมื่อเห็นอนัตตา หมายความว่าอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ 1

สนทนาธรรมค่ำเสาร์   19 ก.พ. 54
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

วิดีโอ 2

สนทนาธรรมช่วงหลังฉัน 20 ต.ค. 56
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา  สิ่งนั้นนั้น  ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา :

เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริง  อย่างนี้  ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทุกประการ).

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้, 

ปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลาย  ย่อมไม่มี;

เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

เมื่ออปรันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี;

เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี,

จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย  เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น;

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ ;

เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี;

เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง;

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน เฉพาะตนนั่นเทียว.

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,

กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

 

 

ตามรอยธรรม หน้า ๔๕-๔๖ 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๕๔-๖๕๕

 (ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๕/๙๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อสังขตลักษณะ แห่งอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.

๓ อย่างอย่างไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ :-

(๑) ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)

(๒) ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)

(๓) เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ๓ อย่าง เหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม.

 

ภพภูมิหน้า ๔๖๘.

(ภาษาไทย) สี.ที. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗. :คลิกดูพระสูตร 

 

สัทธานุสารี

ภิกษุ ท. ! จักษุ.... โสตะ ....  ฆานะ ....  ชิวหา ...  กายะ ... มนะ 

เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ  มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุ ท. ! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้  ด้วยอาการอย่างนี้ ;

บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น   สัทธานุสารี   หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง) 

หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)  ล่วงพ้นบุถุชนภูมิไม่อาจที่จะกระทำกรรม 

อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย และ

ไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

 

ธัมมานุสารี

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้   ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ ;

บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ

ไม่อาจที่จะกระทำกรรมอันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย และ

ไม่ควรที่จะกระทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

 

โสตาปันนะ

ภิกษุ ท. ! บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็นในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้

(ตามที่กล่าวแล้วในข้อบนมีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) ;

บุคคลนี้เราเรียก ว่าโสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส) ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม)

เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (นิยต) มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน).

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๕๙๒-๕๙๓.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔๖-๒๔๗/๔๖๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นธรรมมีส่วนแห่งวิชชา(วิชฺชาภาคิย).

หกอย่าง อย่างไรเล่า ?  หกอย่างคือ

อนิจจสัญญา (สัญญาว่าไม่เที่ยง)

อนิจเจทุกขสัญญา (สัญญาว่าทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

ทุกเขอนัตตสัญญา (สัญญาว่ามิใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์)

ปหานสัญญา (สัญญาในการละ)

วิราคสัญญา (สัญญาในความคลายกำหนัด)

นิโรธสัญญา (สัญญาในความดับ). 

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๖ อย่างเป็นธรรมมีส่วนแห่งวิชชา 

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๖๘๐-๖๘๑.

(ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ.  ๒๒/๓๐๔/๓๐๖. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today257
Yesterday428
This week257
This month10057
Total2357400

Who Is Online

28
Online