Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ความเป็นอริยบุคคลสำคัญขนาดไหน และมีวิธีไหนที่จะเป็นอริยบุคคลได้เร็วที่สุด

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

เสียง

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
สนทนาธรรมช่วง ก่อนฉัน 14 ต.ค. 55

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

  

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ;

ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ,

และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คืออะไรเล่า ? คือ

ชาติ ชรา และ มรณะ (ทุกขอริยสัจ).

 

 ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้,

ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และ

ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุใดแล ที่ ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ในโลก,

เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ

และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วจึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก. 

(ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๖/๗๖.:คลิกดูพระสูตร 

 

แก้กรรม โดยการออกจากระบบของกรรม

 

ภิกษุทั้งหลาย !  กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ 

 

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !  เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ)แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาใน นรก มีอยู่,

กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาใน กำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่,

กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาใน เปรตวิสัย มีอยู่,

กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาใน มนุษย์โลก มีอยู่,

กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาใน เทวโลก มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ

วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)

หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า

วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก).

ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !  อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา;

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)

สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)

สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)

สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)

สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)

สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)

สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

 

ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้;

 

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า

“กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”

ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.

หนังสือแก้กรรม หน้า ๒

(บาลี) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔. :คลิกดูพระสูตร 

                                    
 

 

เมื่อรูปดับ จะไม่ดับไปตามรูป

 

[๔๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

 

ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างไร?

ดูกรอัคคิเวสสนะ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น

เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้าแล้ว มีความยินดีนักในสุขเวทนา และ

ถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไป

 

เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว

ก็เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ถึงความหลงไหล

แม้สุขเวทนานั้นเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่

เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่

เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิต

 

ดูกรอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่ปุถุชนคนใดคนหนึ่ง ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่

เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่

เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิตทั้งสองอย่างดังนี้

 

ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายมิได้อบรม

มีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างนี้แหละ.

 

(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๓๑๒/๔๐๙ : คลิกดูพระสูตร   

     

Today255
Yesterday467
This week1634
This month6665
Total2364659

Who Is Online

13
Online