Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

วางจิตอย่างไร ในการทำบุญกับพระสงฆ์ ที่ไม่ใช่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

 

วิดีโอ

พุทธวจนช่วงหลังฉัน 10 ก.พ. 2556

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : วิดีโอ

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

วัจฉะ ! ผู้ใดห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่า เป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง คือ :-

ทำอันตรายต่อบุญของทายก (ผู้ให้ทาน),

ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก (ผู้รับทาน),

และตัวเองก็ขุดรากตัวเองกำจัดตัวเองเสียตั้งแต่แรกแล้ว.

วัจฉะ ! ผู้ที่ห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง ดังนี้แล.

วัจฉะ ! เราเองย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อ หรือน้ำล้างชามก็ตาม ลงในหลุมน้ำครำ หรือทางน้ำโสโครก ซึ่งมีสัตว์มีชีวิตเกิดอยู่ในนั้นด้วยคิดว่า สัตว์ในนั้นจะได้อาศัยเลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้ว เราก็ยังกล่าวว่า นั่นเป็นทางมาแห่งบุญ เพราะการทำแม้เช่นนั้น ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานแก่มนุษย์ด้วยกัน” ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวว่าทานที่ให้แก่ผู้มีศีล เป็นทานมีผลมากทานที่ให้แก่ผู้ทุศีล หาเป็นอย่างนั้นไม่และผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละเสียซึ่งองค์ ๕ และประกอบอยู่ด้วย องค์ ๕.

ละองค์ ๕ คือ :-

ละกามฉันทะ

ละพยาบาท

ละถีนมิทธะ (หดหู่ซึมเซา)

ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่านรำคาญ)

ละวิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย)

ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-

ประกอบด้วยกองศีลชั้นอเสขะ (คือชั้นพระอรหันต์)

ประกอบด้วยกองสมาธิชั้นอเสขะ

ประกอบด้วยกองปัญญาชั้นอเสขะ

ประกอบด้วยกองวิมุตติชั้นอเสขะ

ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะชั้นอเสขะ.

เรากล่าวว่าทานที่ให้ในบุคคลผู้ละองค์ห้า และ ประกอบด้วยองค์ห้า ด้วยอาการอย่างนี้ มีผลมาก ดังนี้.

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๑๒๑

(ไทย)ติกอํ๒๐/๑๕๕/๔๙๗. : คลิกดูพระสูตร

(บาลี)ติกอํ๒๐/๒๐๔/๔๙๗. : คลิกดูพระสูตร

 
 

 

ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ ให้ทานใน ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่  ให้ทานใน พระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่  ให้ทานใน สาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่  ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้งนี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๔ ให้ทานแก่ พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่  ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๖ ให้ทานแก่ พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่  ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่  ให้ทานใน พระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่  ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๐ ให้ทานใน บุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๑ ให้ทานใน บุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๒ ให้ทานใน ปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๓ ให้ทานใน สัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๔ 

ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีลพึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ 

ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี  อย่าง คือ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่  ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่  ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่  เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่  เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่  

(ไทย) อุปริ๑๔/๓๔๓-๓๔๕/๗๑๐-๗๑๘ : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) อุปริ๑๔/๔๕๖-๔๕๘/๗๑๐-๗๑๘ : คลิกดูพระสูตร

 
 
 ภิกษุ ท.! ผ้าทอด้วยเปลือกปอ ถึงจะยังใหม่อยู่ สีก็ไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ 
ราคาก็ถูก, แม้จะกลางใหม่กลางเก่าแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ 
ราคาก็ถูกมาก, แม้จะเก่าคร่ำแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมากอยู่นั่นเอง. 

ผ้าเปลือกปอ ที่เก่าคร่ำแล้ว มีแต่จะถูกใช้เช็ดหม้อข้าว หรือทิ้งอยู่ตามกองขยะมูลฝอย นี้ฉันใด;

ภิกษุ ท.! ภิกษุ ที่ทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน :

แม้เพิ่งบวชใหม่ เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม 

ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ ว่า มีผ้าเปลือกปอ เป็นคู่เปรียบ. 

อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน; 
เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้า ก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น.เรากล่าวภิกษุนี้ ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. 

อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. 
เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอ เป็นคู่เปรียบ

ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุ ผู้อายุปูนกลาง เมื่อเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่างเดียวกัน, เรากล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. 
อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน; เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น.เรากล่าวภิกษุนี้ ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. 

อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้น ย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่ามีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุ ผู้เป็นเถระ เมื่อเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่างเดียวกัน, เรากล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. 
อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน; เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.  อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่ามีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะว่าให้ว่า 
“ประโยชน์อะไร”ด้วยคำพูดของท่าน ซึ่งเป็นคนพาล คนเขลา,คนอย่างท่านหรือจะรู้จักสิ่งที่ควรพูด ดังนี้. ภิกษุเถระนั้น ถูกเขาว่าให้ ก็โกรธ แค้นใจ กล่าววาจาหยาบออกมา โดยอาการที่ทำให้ตนต้องถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมในภายหลัง จึงเป็นเหมือนผ้าเปลือกปอเก่าคร่ำ ที่เขาทิ้งเสียตามกองขยะมูลฝอย ฉะนั้น แล.


                                                                                                                                                       (ไทย)ติก. อํ. ๒๐/๒๓๕/๕๓๙.คลิกดูพระสูตร
(บาลี)ติก. อํ. ๒๐/๓๑๗/๕๓๙.คลิกดูพระสูตร
 

กบิลพัสดุ์นิทานครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปหาเจ้าศากยะ พระนามว่าโคธา ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า

ดูกรโคธา พระองค์ย่อมทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ? เจ้าศากยะพระนามว่า โคธาตรัสตอบว่า ดูกรมหานาม หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน... ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ. .. หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกตํ่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า.

ดูกรมหานาม ก็พระองค์เล่า ย่อมทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็น พระโสดาบัน... ?

ดูกรโคธา หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน... ธรรม ๔ ประการเป็นไฉนอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์...ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ

ดูกรโคธา หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน... .

โคจงรอก่อน มหานาม จงรอก่อน มหานาม พระผู้มีพระภาคเท่านั้นจะพึงทรงทราบเรื่องนี้ ว่าบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้หรือมิใช่ ที่เป็นพระโสดาบัน ?

ดูกรโคธา เรามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคกันเถิด แล้วจักกราบทูลเนื้อความนี้แก่พระองค์.

ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม และเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว เจ้าศากยะพระนามว่า มหานามได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา ได้กล่าวถามว่า ดูกรโคธา พระองค์ย่อมทรงทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็น พระโสดาบัน... ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันกล่าวถามอย่างนี้แล้ว เจ้าโคธาศากยะได้ตรัสตอบหม่อมฉันว่า ดูกรมหานาม หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ว่าเป็น พระโสดาบัน... ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน... ก็พระองค์เล่า ย่อมทรงทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็น พระโสดาบัน... ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเจ้า โคธาศากยะตรัสถามอย่างนี้แล้ว หม่อมฉันตอบว่า ดูกรโคธา หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน... ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ หม่อมฉันย่อมทราบ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน... .

เมื่อหม่อมฉันกล่าวตอบอย่างนี้แล้ว เจ้าโคธาศากยะได้ตรัสกะหม่อมฉันว่า จงรอก่อน มหานาม จงรอก่อน มหานาม พระผู้มีพระภาคเท่านั้นจะพึงทรงทราบเรื่องนี้ว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้หรือมิใช่ ที่เป็นพระโสดาบัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัสและฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ (กล่าวฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.

...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัสและฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ (กล่าวฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น... .

...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัสและฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ และอุบาสกทั้งหลาย (กล่าวฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น... .

...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัสและฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย (กล่าวฝ่ายใดพระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น... .

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัสและฝ่ายหนึ่งเป็น ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ (กล่าวฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉัน พึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมตรัสอะไรกะพระเจ้ามหานามศากยราช

เจ้าโคธาศากยะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้มีวาทะอย่างนี้ มิได้พูดอะไรกะพระเจ้ามหานามศากยราช นอกจากกัลยาณธรรม นอกจากกุศล.

(ไทย) มหาวารสํ๑๙/๓๗๑/๑๕๑๓ – ๑๕๒๖.คลิกดูพระสูตร

(บาลีมหาวารสํ๑๙/๔๖๖/๑๕๑๓ – ๑๕๒๖.คลิกดูพระสูตร

 
 
 

พระบัญญัติ

๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน

อันเขาเก็บไว้ให้เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

 

(ไทย) วิ. มหา. ๒/๑๑๐/๑๐๕:คลิกดูพระสูตร

(บาลี) วิ. มหา. ๒/๙๐/๑๐๕:คลิกดูพระสูตร


 

 

 

 

Today1398
Yesterday1254
This week6203
This month16221
Total2523526

Who Is Online

94
Online