การกราบที่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร
วิดีโอ
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
เสียสละแก่สงฆ์ [๔] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า…. เสียสละแก่คณะ [๕] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า… (ภาษาไทย) มหาวิ. วิ. ๒/หน้าที่ ๕/๔: คลิกดูพระสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบฉันทะ อย่างนี้:- ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำมอบฉันทะอย่างนี้ว่า…. (ภาษาไทย) มหา. วิ. ๔/๑๙๕/๑๘๒: คลิกดูพระสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่าหรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก : เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร ให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,ว่า เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ) หายใจเข้า”,ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น (สมาทหํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”; ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้; คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี. อาณาปานสติ หน้า ๑ (ภาษาไทย)มหาวาร.สํ.๑๙/๓๒๐/๑๓๑๑-๑๓๑๓: คลิกดูพระสูตร
“เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวแรกตรัสรู้เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราในอุรุ เวลาประเทศ เมื่อเราหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์คนไหนหนอแล แล้วอาศัยอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปริวิตกต่อไปว่า เราจะพึงสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีศีลสมบูรณ์กว่าตน ซึ่งเราจะพึงสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เราจะพึงสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่น แล้วอาศัยอยู่เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิขันธ์ ... แห่งปัญญาขันธ์ ... แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีสมาธิสมบูรณ์กว่าตน ... มีปัญญาสมบูรณ์กว่าตน ... มีวิมุตติสมบูรณ์กว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราได้ปริวิตกต่อไปว่า ไฉนหนอแล เราพึงสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นอาศัยเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความปริวิตกแห่งใจของเราด้วยใจ ได้อันตรธานจากพรหมโลกไปปรากฏข้างหน้าเราเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกมณฑลเข่าเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ประนมอัญชลีมาทางเรา แล้วกล่าวคำนี้กะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เหล่านั้นสักการะเคารพพระธรรมนั่นเทียว อาศัยอยู่แล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดจักมีในอนาคตแม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็จักสักการะเคารพพระธรรมนั่นเทียวอาศัยอยู่แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็จงสักการะเคารพพระธรรมนั่นแหละอาศัยอยู่เถิด ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตเหล่าใดด้วย พระพุทธเจ้า ใน อนาคตเหล่าใดด้วย และพระพุทธเจ้าในบัดนี้ด้วย ผู้ยัง ความโศกของสัตว์เป็นอันมากให้เสื่อมคลาย ล้วนเคารพ พระสัทธรรมอยู่ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักษาตน จำนงความเป็น ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง ทำความเคารพพระสัทธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวประพันธ์คาถานี้ ครั้นแล้วอภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้การที่เราทราบการเชื้อเชิญของพรหมแล้วสักการะเคารพอาศัยธรรมที่เราตรัสรู้นั้นนั่นแหละอยู่ เป็นการสมควรแก่ตน เมื่อใด แม้สงฆ์ประกอบไปด้วยความเป็นใหญ่แล้ว เมื่อนั้น เราก็เคารพแม้ในสงฆ์ ฯ (ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ..๒๑/๒๐/๒๑: คลิกดูพระสูตร