Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การฆ่าตัวตาย มีผลอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วีดีโอ1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

วีดีโอ2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

กายนี้ไม่ใช่ของใคร เป็นเพียงกระแสปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่า เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำ ให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ : เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ; ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้", ดังนี้แล.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์  หน้า ๖๔

นิทาน. สํ. ๑๖/๖๒/๑๔๓ : คลิกดูพระสูตร

 

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

 

โย ปะนะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา.....

 

อนึ่ง ภิกษุใด จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย ด้วยคำว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบาก ยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ดังนี้ เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.”

 

อริยวินัย หน้า ๑๖

 

เรื่องต้นบัญญัติ

 

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามหาวัน ทรงแสดงอสุภกถา การพิจารณาเห็นร่างกายโดยความเป็นของไม่งาม สรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ กับทั้งคุณแห่งอสุภสมาบัติ

 

ครั้นแล้วทรงหลีกเร้นอยู่ตามลำพังพระองค์ตลอดกึ่งเดือน ภิกษุทั้งหลาย ปฏิบัติอสุภภาวนา ก็เกิดความอิดหนาระอาใจ รังเกียจด้วยกายของตน เหมือน ชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการประดับตกแต่ง อาบน้ำ ดำเกล้าแล้ว รังเกียจซากศพงู ซากศพสุนัข ซากศพมนุษย์ อันคล้องอยู่ที่คอ ก็ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันและกันบ้าง เข้าไปหานายมิคลัณฑิกะผู้แต่งตัวเหมือนสมณะ จ้างด้วยบาตรจีวรให้ฆ่าบ้าง.

 

เมื่อครบกึ่งเดือนแล้ว เสด็จกลับจากที่เร้น ทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงสั่งสอนอานาปานสติสมาธิ (คือการทำใจให้ตั้งมั่นโดยกำหนดลมหายใจเข้าออก) โดยปริยายต่าง ๆ แล้วทรงปรารภเรื่องภิกษุฆ่าตัวตาย ฆ่ากันและกัน รวมทั้งจ้างผู้อื่นให้ฆ่าตน ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามมิให้ภิกษุฆ่ามนุษย์หรือใช้ให้คนอื่นฆ่า ทรงปรับปาราชิกแก่ผู้ละเมิด.

 

 

อนุบัญญัติ

 

สมัยนั้นอุบาสกคนหนึ่งไม่สบาย ภิกษุฉัพพัคคีย์ เกิดพอใจในภริยาของอุบาสกนั้น จึงพูดพรรณนาคุณแห่งความตาย อุบาสกนั้นเชื่อ ก็รับประทานแต่ของแสลง เป็นเหตุให้โรคกำเริบและตายด้วยโรคนั้น ภริยาของอุบาสกจึงติเตียน ยกโทษภิกษุฉัพพคีย์เหล่านั้น

 

ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียนว่า

 

ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกเล่า

 

ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว…”

 

 

 

อริยวินัย  หน้า  ๑๘

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้

ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ

ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล  ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้

ติก. อํ. ๒๐/๒๘๙/๕๙๘ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 
Today42
Yesterday494
This week42
This month5073
Total2363067

Who Is Online

8
Online