Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

คนเราเกิดมา ชีวิตประสบความสุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างไม่ดีบ้าง ขึ้นๆลงๆ เป็นเพราะอะไร ถ้าอยากประสบแต่สิ่งดีๆ ต้องทำอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

พุทธวจนบรรยาย ณ โรงแรมมณเฑียร พัทยา

  13 ก.ย. 2556

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4 , mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

กรรมดำมีวิบากดำก็มี

กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี

กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี

กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง  แล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มีกรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันมีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันมีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนเทพชั้นสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว ฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะอันมีความเบียดเบียนบ้างไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน  เปรียบเหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว

ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน

เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำในบรรดากรรมเหล่านั้นก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็ดี นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔  ประการนี้แลเรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ

 

(ไทย) จตุกก. อํ. ๒๑/๒๑๙/๒๓๒-๒๓๓.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) จตุกก. อํ. ๒๑/๓๑๓-๓๑๖/๒๓๒-๒๓๓.คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม

จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย  สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา). ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก  ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ   ย่อมตั้งขึ้นไว้  ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงมาดู  เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี”  ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล  ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็นอวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็นอนัญญถตาคือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็นอิทัปปัจจยตา  คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย  สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

(คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)

 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๔-๓๕

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๒-๒๓/๖๑.คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐-๓๑/๖๑.คลิกดูพระสูตร

 

 

 

Today32
Yesterday451
This week1786
This month9032
Total2356375

Who Is Online

32
Online