Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ต้นไม้ จุลินทรีย์ แบคทีเรีย มีขันธ์ ๕ หรือไม่

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

 

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4,mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

      ราชกุมาร !

ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น

ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

 

ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น

ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

 

ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น

ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาลเพื่อกล่าววาจานั้น.

 

ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น

ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.

 

ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น

ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.     

 

ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์และเป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น

ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาละที่เหมาะเพื่อกล่าววาจานั้น.

 

นังสือปฐมธรรมหน้า ๕๑ 

(ไทย)ม. ม. ๑๓/๗๒/๙๔ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี)ม. ม. ๑๓/๙๑/๙๔ : คลิกดูพระสูตร

 

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกำใบไมสีสปา ที่ร่วงอยู่ตามพื้นดินขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า :

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร, ใบไม้สีสปาที่เรากำขึ้นหน่อยหนึ่งนี้มาก หรือว่าใบไม้สีสปาที่ยังอยู่บนต้นเหล่านั้นมีมาก ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้จริญ ! ใบไม้ที่พระผู้มีพระภาคทรงกำขึ้นหน่อยหนึ่งนั้นเป็น ของน้อย ส่วนใบไม้ยังอยู่บนต้น สีสปาเหล่า นั้นย่อมมีมาก”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ธรรมะส่วนที่เรารู้ยิ่งด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วนที่นำมาสอน.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุไรเล่า เราจึงไม่กล่าวสอนธรรมะส่วนนั้นๆ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ธรรมะส่วนนั้นๆ

ไม่ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์

ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด

ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็น

ไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นเพื่อความรู้พร้อม

ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน, ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวสอน.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะอะไรเล่า เป็นธรรมะที่เรากล่าวสอน ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะที่เรากล่าวสอน คือ ข้อที่ว่า

ความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ,

เหตุเป็นที่เกิดของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ,

ความดับสนิทของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ, ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับสนิทของความทุกข์เป็นอย่างนี้ๆ .

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุไรเล่า ธรรมะส่วนนี้เราจึงนำมากล่าวสอน ?

 

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะว่าธรรมะส่วนนี้ ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์

เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย

เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ

เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง

เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน,

เพราะเหตุนั้นแล เราจึงนำมากล่าวสอน.

 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๒๘๔

(ไทย)มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๔/๑๗๑๒ : คลิกดูพระสูตร

(บาลี)มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๘/๑๗๑๒ : คลิกดูพระสูตร

        มาลุงก๎ยบุตร !  เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง   ถูกลูกศรอันกำซาบด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิต จัดการเรียกแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญ.บุรุษนั้นกล่าวเสียอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักตัวบุรุษผู้ยิงเราว่าเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์   ศูทร   ชื่อไร  โคตรไหน  ฯลฯ   ธนูที่ใช้ยิงนั้นเป็นชนิดหน้าไม้   หรือ เกาฑัณฑ์ ฯลฯ (เป็นต้น) เสียก่อนแล้ว เรายังไม่ต้องการจะถอนลูกศรอยู่เพียงนั้น.

มาลุงก๎ยบุตร !  เขาไม่อาจรู้ข้อความที่เขาอยากรู้นั้นได้เลย  ต้องตายเป็นแท้ !

อุปมานี้ฉันใด ;   อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน,  

บุคคลผู้กล่าวว่า   เราจักยังไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จนกว่าพระองค์จักแก้ปัญหาทิฏฐิ   ๑๐  แก่เราเสียก่อน,   และตถาคตก็ไม่พยากรณ์ปัญหานั้นแก่เขา   เขาก็ตายเปล่า โดยแท้ ...

       มาลุงก๎ยบุตร !  ท่านจงซึมทราบสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ไว้ โดยความเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.   ซึมทราบสิ่งที่เราพยากรณ์ไว้   โดยความเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.   อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ ?   คือ

ความเห็นสิบประการว่า   โลกเที่ยง  ฯลฯ  (เป็นต้น)  เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ.  

มาลุงก๎ยบุตร !     อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ?   คือ สัจจะว่า  

“นี้เป็นทุกข์,   

นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,   

นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์   และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้

นี้เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์. เหตุใดเราจึงพยากรณ์เล่า ?     

เพราะสิ่ง ๆ นี้ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์

เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์

เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์   ความคลายกำหนัด  

ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้นหน้า ๔๕-๔๖

(ไทย)ม.ม. ๑๓/๑๑๙/๑๔๙ - ๑๕๐,๑๕๒ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

(บาลี)ม.ม. ๑๓/๑๔๖/๑๔๙ - ๑๕๐,๑๕๒ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today81
Yesterday554
This week1518
This month3691
Total2361685

Who Is Online

12
Online