Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การทำแท้ง : วิบากกรรม และวิธีแก้กรรม

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วีดีโอ1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

เสถียรธรรมสถาน ๑๒ ก.ย. ๕๒

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ละความเพลิน จิตหลุดพ้น

สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ

เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ

จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย

เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดีดังนี้.

อินทรียสังวร หน้า ๓๒

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕-. : คลิกดูพระสูตร

 

อริยสัจจวิตกในฐานะสัมมาสังกัปปะ

 ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย อย่าวิตกถึงอกุศลวิตกทั้งหลายอันเป็นบาปกล่าวคือกามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

 ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า วิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นอาทิพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

 ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย เมื่อจะวิตก พึงกระทำวิตกต่อสัจจะที่ว่า "นี้ คือ ทุกข์, นี้ คือ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ คือทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์" ดังนี้. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไรเล่า?

 ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า วิตกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ วิตกเหล่านี้เป็นอาทิพรหมจรรย์ วิตกเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ความสงบรำงับ เพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน.

 ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า "ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้" ดังนี้.

 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๐๓๒ - ๑๐๓๓

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๖/๑๖๖๐. : คลิกดูพระสูตร

 

การรู้อริยสัจรีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้นควรจะทำอย่างไร ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี, เพื่อจะดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).

ภิกษุทั้งหลาย ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับเสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ ; แต่จะรู้สึกว่า สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่งก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง) สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้เฉพาะ.

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ดังนี้.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๙๘

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๗๑๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ

 ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ;

 ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ;

 ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ส้องเสพแล้ว;

 ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นส้องเสพแล้ว;

 ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว;

 ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว.

 ปฐมธรรม หน้า ๒๒๓

 (ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐/๔๔/๒๓๕,๒๓๙. : คลิกดูพระสูตร

  

 

อาการเกิดดับแห่งเวทนา

 ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้ เกิดมาจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.

 ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น สุขเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไปย่อมระงับไป.

 (ในกรณีแห่ง ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำมีนัยยะอย่างเดียวกัน).

 ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือน เมื่อไม้สีไฟสองอันสีกัน ก็เกิดความร้อน และเกิดไฟ, เมื่อไม้สีไฟสองอันแยกกัน ความร้อนก็ดับไปสงบไป.

 ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : เวทนาทั้งสามนี้ ซึ่งเกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย อาศัยผัสสะแล้วย่อมเกิดขึ้น, ย่อมดับไปเพราะผัสสะดับ, ดังนี้แล.

 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๙๐

 (ภาษาไทย) สฬา, สํ. ๑๘/๒๒๙/๓๘๙-๓๙๐. : คลิกดูพระสูตร

 

 

องคุลิมาลโจรละพยศ

 ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรดำริว่า สมณศากยบุตรเหล่านั้นมักเป็นคนพูดจริง มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่เทียว กลับพูดว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด ถ้ากระไร เราพึงถามสมณะรูปนี้เถิด.

 ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถา ความว่า

 ดูกรสมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่า เราหยุดแล้ว และท่านยังไม่หยุด ยังกล่าวกะข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่าไม่หยุด ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านหยุดแล้วเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ายังไม่หยุดแล้วเป็นอย่างไร?

 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรองคุลิมาล เราวางอาชญาในสรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่าหยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจึงหยุดแล้ว ท่านยังไม่หยุด.

 องคุลิมาลโจรทูลว่า

 ดูกรสมณะ ท่านอันเทวดามนุษย์บูชาแล้ว แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มาถึงป่าใหญ่เพื่อจะสงเคราะห์ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานหนอ ข้าพเจ้านั้นจักประพฤติละบาป เพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของท่าน

 องคุลิมาลโจรกล่าวดังนี้แล้ว ได้ทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึกมีหน้าผาชัน องคุลิมาลโจรได้ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระสุคต แล้วได้ทูลขอบรรพชากะพระสุคต ณ ที่นั้นเอง.

 ก็แลพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลก ได้ตรัสกะองคุลิมาลโจรในเวลานั้นว่า

 ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด อันนี้แหละเป็นภิกษุภาวะขององคุลิมาลโจรนั้น ดังนี้.

 ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงพระนครสาวัตถีแล้ว.

(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๓๖๐/๕๒๕. : คลิกดูพระสูตร

  

 กายนี้ เป็น กรรมเก่า

 ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.

 ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต),เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต),เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).

 ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดีซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า  ด้วยอาการอย่างนี้ :

เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี; 

เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;

 เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;

 เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป :

 ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

 เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;

เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;

 เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;

 เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;

 เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;

 เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;

 เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;

 เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;

 เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;

 เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;

 เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ

 ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

 ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี

 ด้วยอาการอย่างนี้.

 เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ... ฯลฯ ...

ฯลฯ ... ฯลฯ ... เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ

 โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :

 ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้ แล.

 พุทธวจนฉบับ แก้กรรม ? หน้า ๒๔

 (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๒/๑๔๓. : คลิกดูพระสูตร

  

 

เหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดมาแตกต่างกัน

  สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า

 ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืนมีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อยมีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูงไร้ปัญญา มีปัญญา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต”.

 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

 มาณพ ! สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้.

 ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อมิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ขอพระโคดมผู้เจริญ ! ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุเทศนี้โดยพิสดารด้วยเถิด”.

 มาณพ ! ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป :-

 สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า

 ชอบแล้ว พระเจ้าข้า !”.

 พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

 มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหารไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีอายุสั้น.

 มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้นนี้คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหดมีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต. ...ฯลฯ...

 พุทธวจนฉบับ แก้กรรม ? หน้า ๗๙

 (ภาษาไทย) อุปริ. . ๑๔/ ๒๘๗-๒๙๒ /๕๗๙-๕๙๗. : คลิกดูพระสูตร

  

 สิ่งใดมิใช่ของเรา

  ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้, สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย, สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน. ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สิ่งใดเล่า มิใช่ของพวกเธอ?

ภิกษุทั้งหลาย ! รูป มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละรูปนั้นเสีย ; รูปนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละเวทนานั้นเสีย ; เวทนานั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.

 ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสัญญานั้นเสีย ; สัญญานั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.

 ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเสีย ; สังขารทั้งหลายเหล่านั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.

 ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละวิญญาณนั้นเสีย ; วิญญาณนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน.

 ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญ ความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คือข้อที่หญ้าไม้ กิ่งไม้และใบไม้ ใดๆ มีอยู่ ในเชตวันนี้, เมื่อคนเขาขนเอามันไปก็ตามเผาเสียก็ตาม หรือกระทำตามความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ; พวกเธอเคยเกิดความคิดอย่างนี้บ้างหรือไม่ ว่าคนเขาขนเอาเราไปบ้าง เขาเผาเราบ้าง เขาทำแก่เราตามความรารถนาของเขาบ้างดังนี้?

 ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!”

 ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?

 เพราะเหตุว่านั่น หาได้เป็นตัวตน หรือของเนื่องด้วยตัวตน ของข้าพระองค์ไม่ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น, คือ สิ่งใด มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอ

 จงละสิ่งนั้นเสีย ; สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน แล.

 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๔๓

 (ภาษาไทย) มู. . ๑๒/๑๙๔/๒๘๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว

 ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี้ มีอยู่, เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิตจะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไปเพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง.

 ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธินั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ๓ ลัทธิคือ :-

 () สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนดังนี้.

 () สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ฉบับ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะการบันดาลของเจ้าเป็นนายดังนี้.

 () สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลยดังนี้.

 ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้นสมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำและความเห็นว่าบุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์เพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียวมีอยู่,เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่าถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท ...มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง (ในเวลานี้) นั่นก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน. เมื่อมัวแต่ถือเอากรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนมาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำหรือความพยายามทำในข้อที่ว่าสิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป. เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำ หรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้ดังนี้.

 พุทธวจนฉบับ แก้กรรม ? หน้า ๖๐

 (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๖๗/๕๐๑. : คลิกดูพระสูตร

 

 ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์เกิดจากเทพเจ้าบันดาลให้

 ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะอิศวรเนรมิตให้ (อิสฺสรนิมฺมานเหตูติ)ดังนี้ มีอยู่,

 เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่าถ้ากระนั้น (ในบัดนี้) คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ...ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ...พูดยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ...มีใจพยาบาท มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั่นก็ต้องเป็นเพราะการเนรมิตของอิศวรด้วย.

 เมื่อมัวแต่ถือเอาการเนรมิตของอิศวรมาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้วคนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้ดังนี้.

 พุทธวจนฉบับ แก้กรรม ? หน้า ๖๓

 (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๖๗/๕๐๑. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์เกิดขึ้นเองลอยๆ

 ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

 ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลยดังนี้ มีอยู่,เราเข้าไปหาสมณะพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่าถ้ากระนั้น (ในบัดนี้) คนที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดยุให้แตกกัน พูดเพ้อเจ้อ มีใจละโมบเพ่งเล็ง มีใจพยาบาท มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั่นก็ต้องไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลยด้วย.

 เมื่อมัวแต่ถือเอาความไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลยมาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้วคนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำหรือความพยายามทำในข้อที่ว่าสิ่งนี้ควรทำ(กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้วคนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้ดังนี้.

 พุทธวจนฉบับ แก้กรรม ? หน้า ๖๕

 (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๖๗/๕๐๑. : คลิกดูพระสูตร

 

 

เชื่อว่า กรรมไม่มี อันตรายอย่างยิ่ง

 ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาผ้าที่ทอด้วยสิ่งที่เป็นเส้นๆ กันแล้ว ผ้าเกสกัมพล (ผ้าทอด้วยผมคน) นับว่าเป็นผ้าเลวที่สุด. ผ้าเกสกัมพลนี้ เมื่ออากาศหนาว มันก็เย็นจัด,เมื่ออากาศร้อน มันก็ร้อนจัด. สีก็ไม่งาม กลิ่นก็เหม็น เนื้อก็กระด้าง; ข้อนี้เป็นฉันใด,

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิต่างๆ ของเหล่าปุถุสมณะ (สมณะอื่นทั่วไป) แล้ว ลัทธิมักขลิวาทนับว่าเป็นเลวที่สุด ฉันนั้น.

 ภิกษุทั้งหลาย ! มักขลิโมฆบุรุษนั้น มีถ้อยคำและหลักความเห็นว่า กรรมไม่มี, กิริยาไม่มี, ความเพียรไม่มี(คือในโลกนี้ อย่าว่าแต่จะมีผลกรรมเลย แม้แต่ตัวกรรมเองก็ไม่มี,ทำอะไรเท่ากับไม่ทำ ในส่วนของกิริยาและความเพียร ก็มีนัยเช่นเดียวกัน).

 ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เคยมีแล้วในอดีตกาลนานไกลท่านเหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยา มีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้.

 ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่จักมีมาในอนาคตกาลนานไกลข้างหน้า ท่านเหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยา มีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้.

 ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาละนี้ แม้เราเองผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยามีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านเราว่า ไม่มีกรรมไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้.

 ภิกษุทั้งหลาย ! คนเขาวางเครื่องดักปลา ไว้ที่ปากแม่น้ำไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล, แต่เพื่อความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่พวกปลาทั้งหลาย ฉันใด; มักขลิโมฆบุรุษ เกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนกับผู้วางเครื่องดักมนุษย์ไว้ ไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล, แต่เพื่อความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก ฉันนั้น.

 พุทธวจนฉบับ แก้กรรม ? หน้า ๖๗

 (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๒๗๔/๕๗๗. : คลิกดูพระสูตร

  

 

ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา

 ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกินซึ่งวิญญาณาหาร พระเจ้าข้า ?”

 พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสตอบว่า :-

 นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า บุคคลย่อมกลืนกินดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า บุคคลย่อมกลืนกินดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน (ซึ่งวิญญาณาหาร) พระเจ้าข้า ?’ ดังนี้.

 ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่ออะไรเล่าหนอ ?’ ดังนี้แล้ว,นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา.

 คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้นย่อมมีว่าวิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป. เมื่อภูตะ (ความเป็นภพ) นั้น มีอยู่, สฬายตนะ ย่อมมี; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (การสัมผัส)’, ดังนี้”.

 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า ?”

 นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า บุคคล ย่อมสัมผัสดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่าบุคคล ย่อมสัมผัสดังนี้นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า ?” ดังนี้.

 ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า ?” ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา.

 คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ความรู้สึกต่ออารมณ์)”, ดังนี้.

(จากนั้นได้มีการทูลถาม และพระผู้มีพระภาคทรงตรัสตอบไปทีละอาการของปฏิจจสมุปบาทไปจนถึง เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา และพระองค์ได้ตรัสต่อไปอีกว่า :-)

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)”, ดังนี้.

 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า ?”

 นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า บุคคลย่อมยึดมั่นดังนี้ถ้าเราได้กล่าวว่าบุคคลย่อมยึดมั่นดังนี้นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า ?” ดังนี้.

 ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน พระเจ้าข้า ?” ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา.

 คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่าเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;” เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

 ผัคคุนะ ! เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ นั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

พุทธวจนฉบับ แก้กรรม ? หน้า ๑๕๕

 (ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑/๓๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ว่าด้วยสัมมัปปธาน๔

สาวัตถีนิทาน.ณที่นั้นแลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส

ว่าดูกรภิกษุทั้งหลายสัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้  สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑  เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑  เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑  เพื่อความตั้งอยู่เพื่อความไม่เลือนหายเพื่อความมียิ่งๆขึ้นไปเพื่อความไพบูลย์เพื่อความเจริญเพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑  ดูกรภิกษุทั้งหลายสัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.

        ดูกรภิกษุทั้งหลายแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนหลั่งไปสู่ทิศปราจีนบ่า

ไปสู่ทิศปราจีนแม้ฉันใดภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพานฉันนั้นเหมือนกัน.

        ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัม

มัปปธาน ๔ อย่างไรเล่าย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพาน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑  เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว๑เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑  เพื่อความไม่เลือนหายเพื่อความมียิ่งๆขึ้นไปเพื่อความไพบูลย์เพื่อความเจริญเพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ 

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แลย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพาน.

 (ภาษาไทย)  มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๓/๑๐๙๐ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

วิบากของผู้ทุศีล

ภิกษุทั้งหลาย!  ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้วทำให้มากแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.

ภิกษุทั้งหลาย!  อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งอทินนาทานของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง  คือวิบากที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคะ.

ภิกษุทั้งหลาย!  กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง  คือวิบากที่เป็นไปเพื่อก่อเวรด้วยศัตรู.

ภิกษุทั้งหลาย!  มุสาวาท (คำเท็จ) ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งมุสาวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อการถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง.

ภิกษุทั้งหลาย!  ปิสุณวาท (คำยุยงให้แตกกัน) ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนดิดริจัฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งปิสุณวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง  คือวิบากที่เป็นไปเพื่อการแตกจากมิตร.

ภิกษุทั้งหลาย!  ผรุสวาท (คำหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง  คือวิบากที่เป็นไปเพื่อการได้ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจ.

ภิกษุทั้งหลาย!  สัมผัปปลาปะ (คำเพ้อเจ้อ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง  คือวิบากที่เป็นไปเพื่อวาจาที่ไม่มีใครเชื่อถือ.

ภิกษุทั้งหลาย!  การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉานเป็น  ไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือวิบากที่เป็นไปเพื่อความเป็นบ้า (อุมฺมตฺตก).

ฉบับ๕แก้กรรม?หน้า118บทที่๓๑

 (ภาษาไทย)  อฏฺฐก.อํ.๒๓/๑๙๒/๑๓๐.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

Today102
Yesterday467
This week1014
This month6045
Total2364039

Who Is Online

10
Online