Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

กรรม, เหตุเกิดของกรรม, เหตุดับของกรรม, วิบากของกรรม, และวิธีดับกรรม คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

เสียง



แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

 วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ....

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !  เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ)แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนา

ในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิด

เดรัจฉาน มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย

มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่,

กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่ง

กรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลาย

ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)

หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบาก

ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก).

ภิกษุทั้งหลาย !นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย

ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา

(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม)

เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !  อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา;

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)

สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)

สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)

สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)

สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)

สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)

สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้;

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่า

เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า

“กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,

กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”

ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.

หนังสือแก้กรรม หน้า ๒

(ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๕/๓๓๔.. : คลิกดูพระสูตร

 

 

Today145
Yesterday428
This week145
This month9945
Total2357288

Who Is Online

30
Online