Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

สมาธิ 9 ระดับ มีอะไรบ้าง

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ 1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด  : mp4, mp3

 

 

 

เสียง 1

ยุวพุทธิกสมาคม วันที่ 26 ม.ค. 52  (ยุวพุทธ 3 track 2)

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่

 

เสียง 2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่


 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับรูปสัญญาทั้งสี่

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะวิตกวิจารระงับไป เราพึงเข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เพราะธรรมอันเอกคือ สมาธิ ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่เถิดดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย(สุขญฺจ กาเยน)ชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข, เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่เถิดดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เราพึง เข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์ แห่งสติ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่เถิดดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสติสมาธิ นี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

 

เป็นเหตุให้ได้สมาธิในระดับอรูปสัญญาทั้งสี่

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะการไม่กระทำในใจ ซึ่งนานัตตสัญญามีประการต่างๆ เราพึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิดดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิดดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า ไม่มีอะไร แล้วแลอยู่เถิดดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสตินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วแลอยู่เถิดดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

 

เป็นเหตุให้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิดดังนี้แล้วไซร้;

อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

อานาปานสติ หน้า ๖๔

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๒/๑๓๓๗-๑๓๔๕. คลิกดูพระสูตร

 

ลำดับแห่งการดับของสังขาร

(อนุปุพพสังขารนิโรธ)

ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขารโดยลำดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้คือ :-

เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะแล้วอากาสานัญจายตนสัญญาย่อดับ ;

เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ ;

เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ ;

เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๗๖๖.

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

เจริญอานาปานสติ
ชื่อว่าไม่เหินห่างจากฌาน

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุ เจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน

ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท

ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไย

ถึงผู้กระทำให้มากซึ่งอานาปานสตินั้นเล่า.

อานาปานสติ หน้า ๘๑ 

(บาลี) เอก. อํ. ๒๐/๕๔-๕๕/๒๒๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

Today571
Yesterday684
This week4122
This month14140
Total2521445

Who Is Online

88
Online