Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ขอคำอธิบาย กาม, พยาบาท, เบียดเบียน

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วีดีโอ1


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

วีดีโอ2

 


 บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

 วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

[๓๗๗] ดูกรวาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้

ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่ง แสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป เขามัดแขนไพร่หลังอย่างแน่น ด้วยเชือกอย่างเหนียวที่ริมฝั่งนี้ ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนบุรุษนั้นพึงไปสู่ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำอจิรวดีได้แลหรือ?

       ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้.

ดูกรวาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า เรียกว่า

ขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง กามคุณ ๕ เป็นไฉน? คือ

รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ

เสียงที่พึงรู้ด้วยโสต

กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ

รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา

โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า เรียกว่าขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา กำหนัดสยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้อยู่ก็พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้นละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมที่มิใช่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ประพฤติอยู่ กำหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออกบริโภคกามคุณ ๕ พัวพันในกามฉันท์อยู่ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

 (ภาษาไทย)  สี. ที,๙/๓๖๖/๓๗๗.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

[๔๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดรูปหนึ่งมีอภิชฌามาก ยังละอภิชฌาไม่ได้ มีจิตพยาบาท ยังละพยาบาทไม่ได้ เป็นผู้มักโกรธ ยังละความมักโกรธไม่ได้ มีความผูกโกรธ ยังละความโกรธไม่ได้ มีความลบหลู่ ยังละความลบหลู่ไม่ได้ มีความตีเสมอ ยังละความตีเสมอไม่ได้ ยังมีความริษยา ยังละความริษยาไม่ได้ มีความตระหนี่ ยังละความตระหนี่ไม่ได้ มีความโอ้อวด ยังละความโอ้อวดไม่ได้ มีมายา ยังละมายาไม่ได้ มีความปรารถนาลามก ยังละความปรารถนาลามกไม่ได้ มีความเห็นผิด ยังละความเห็นผิดไม่ได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะยังละไม่ได้ซึ่งกิเลสเป็นมลทิน เป็นโทษ เป็นดังว่าน้ำฝาด ของสมณะอันเป็นเหตุให้เกิดในอบายมีวิบากอันตนพึงเสวยในทุคติเหล่านี้แล

เราจึงไม่กล่าวว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ.

 (ภาษาไทย)  มู. ม ๑๒/๓๕๙/๔๘๐.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

[๑๒๙] ดูกรราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมนั้นเธอพึงพิจารณาเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมนี้ใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ดูกรราหุล ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่าเราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ กรรมเห็นปานนี้ เธอไม่พึงทำด้วยกายโดยส่วนเดียว.

แต่ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็นกุศลมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ กรรมเห็นปานนั้น เธอพึงทำด้วยกาย. แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมด้วยกาย เธอก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า เรากำลังทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างกายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกกายกรรมเห็นปานนั้นเสีย. แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มกายกรรมเห็นปานนั้น. ดูกรราหุล แม้เธอทำกรรมด้วยกายแล้ว เธอก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่าเราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ. ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกายกรรมใดกายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้กายกรรมเห็นปานนั้น เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ในพระศาสนา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญญู แล้วพึงสำรวมต่อไป. แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างและเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยกายกรรมนั้นแหละ.

      

[๑๓๐] ดูกรราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา เธอพึงพิจารณาวจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างและเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอไม่ควรทำโดยส่วนเดียว.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่าเราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นผลดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอควรทำ.

ดูกรราหุล แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมด้วยวาจา เธอก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแหละว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกวจีกรรมเห็นปานนั้นเสีย.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่าเราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มวจีกรรมเห็นปานนั้น.

ดูกรราหุล แม้เธอทำกรรมด้วยวาจาแล้ว เธอก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ.

ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอพึงแสดง เปิดเผยทำให้ตื้น ในพระศาสนาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญญู ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไป.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างวจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยวจีกรรมนั้นแหละ.

[๑๓๑] ดูกรราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ เธอพึงพิจารณามโนกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ. ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ มโนกรรมเห็นปานนี้ เธอไม่ควรทำโดยส่วนเดียว.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่าเราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ มโนกรรมเห็นปานนั้น เธอควรทำ.

ดูกรราหุล แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมใดด้วยใจ เธอก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแหละว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างมโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ. ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกมโนกรรมเห็นปานนั้นเสีย.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศลมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มมโนกรรมเห็นปานนั้น.

ดูกรราหุล แม้เธอทำกรรมใดด้วยใจแล้ว เธอก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทำกรรมใดด้วยใจแล้วมโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ

ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำได้แล้วซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้างมโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงกระดาก ละอายเกลียดในมโนกรรมเห็นปานนั้น ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไป.

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่าเราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไรมีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยมโนกรรมนั้นแหละ.

      

[๑๓๒] ดูกรราหุล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้ชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้นพิจารณาๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาลจักชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็จักพิจารณาๆอย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม.

ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน กำลังชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็พิจารณาๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม. เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักพิจารณาๆ แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรมมโนกรรม ดูกรราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

พุทธวจน แก้กรรม  หน้า  ๓๒

 (ภาษาไทย)  ม, ม,๑๓/๑๐๖/๑๒๙.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 
Today363
Yesterday406
This week769
This month10569
Total2357912

Who Is Online

11
Online