Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

หลักการทำสมาธิ สำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ ทำอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : mp4, mp3


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น;

ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได;

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนา เป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้;

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์  

มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้;

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,

เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร เป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ

ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา

และเว้นจากสังขารดังนี้นั้น, นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ

ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว;

เพราะละราคะได้,

อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง,

ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,

วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม,

หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,

เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,

เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,

เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,

เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.

ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,

กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,

กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก  ดังนี้.

ตามรอยธรรม หน้า 49

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๓/๑๐๕.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕.: คลิกดูพระสูตร

 

 

[๔๒] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

 

ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

 

เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ

สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ

สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ

วิญญาณไม่เที่ยง

 

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

 

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑/๔๒.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘/๔๒.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ

เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย

เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้. 

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕-๖.คลิกดูพระสูตร

 

 

                              อิมสฺมึ สติ      อิทํ โหติ 

                             เมื่อสิ่งนี้ มี      สิ่งนี้ ย่อมมี

                          อิมสฺสุปฺปาทา      อิทํ อุปฺปชฺชติ

          เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้      สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

                            อิมสฺมึ อสติ      อิทํ น โหติ

                          เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี      สิ่งนี้ ย่อมไม่มี

                          อิมสฺส นิโรธา      อิทํ นิรุชฺฌติ

           เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้      สิ่งนี้จึงดับไป.

 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์  หน้า ๓

(ไทย)  นิทาน. สํ. ๑๖/๖๘/๑๕๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้ว ได้ตรัสข้อความเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าว บัดนี้.

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! :

เพราะมีอวิชชา         เป็นปัจจัย จึงมี    สังขารทั้งหลาย.

เพราะมีสังขาร         เป็นปัจจัย จึงมี    วิญญาณ;

เพราะมีวิญญาณ      เป็นปัจจัย จึงมี    นามรูป;

เพราะมีนามรูป        เป็นปัจจัย จึงมี    สฬายตนะ;

เพราะมีสฬายตนะ    เป็นปัจจัย จึงมี    ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะ         เป็นปัจจัย จึงมี    เวทนา;

เพราะมีเวทนา         เป็นปัจจัย จึงมี    ตัณหา;

เพราะมีตัณหา         เป็นปัจจัย จึงมี    อุปาทาน;

เพราะมีอุปาทาน      เป็นปัจจัย จึงมี    ภพ;

เพราะมีภพ            เป็นปัจจัย จึงมี    ชาติ;

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณ ะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;

เพราะมีความดับ แห่งสังขาร       จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ;

เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ    จึงมีความดับ แห่งนามรูป;

เพราะมีความดับ แห่งนามรูป     จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ;

เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ;

เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ       จึงมีความดับ แห่งเวทนา;

เพราะมีความดับ แห่งเวทนา      จึงมีความดับ แห่งตัณหา;

เพราะมีความดับ แห่งตัณหา      จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน;

เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน    จึงมีความดับ แห่งภพ;

เพราะมีความดับ แห่งภพ          จึงมีความดับ แห่งชาติ;

เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”, ดังนี้.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์  หน้า ๑๑

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖// : คลิกดูพระสูตร

 

 

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจไม่เป็นที่ชอบใจ

เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำารงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย

(ไทย) อุปริ. . ๑๔/๔๐๙/๘๕๖.คลิกดูพระสูตร

 

 

อานนท์ ! ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ มีเท่าไร ?

มี ๕ อย่าง พระเจ้าข้า !

ดีละ ดีละ อานนท์

ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ ฐานะที่ตั้ง แห่งอนุสสติที่ ๖ นี้ไว้ คือ ภิกษุในกรณีนี้

มีสติก้าวไป

มีสติถอยกลับ

มีสติยืนอยู่

มีสตินั่งอยู่

มีสติสำเร็จการนอนอยู่

มีสติอธิษฐานการงาน

อานนท์ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.

ปฐมธรรม  หน้า ๖๘

(ไทย) ฉกฺก. อํ.  ๒๒ / ๒๙๔ / ๓๐๐ : คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูกรอัมพัฏฐะ  อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ?

ดูกรอัมพัฏฐะ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง

ดูกรอัมพัฏฐะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.

 (ไทย) สี. ที. ๙/๙๒-๑๐๑/๑๖๓ คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น

เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว

แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชมาก เป็นไปเพื่อประโยชน์มาก

เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมาก

เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ

เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคล

อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ

สังเวชมาก ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ย่อมเป็นไป

เพื่อความเกษมจากโยคะมาก ย่อมเป็นไปเพื่อสติและ

สัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไป

เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมุตติ;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจาร

ก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ

แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา

แม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้

เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย

และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น

ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน

ย่อมละสังโยชน์เสียได้.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้

วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึง

ความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่ง

ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉาน

แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย

ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย

ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง

ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อ

ทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผล

ให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อม

เป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง;

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา (ปญฺญาปฏิลาภาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา (ปญฺญาวุฑฺฒิยา)

ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา (ปญฺญาเวปุลฺลาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ (มหาปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา (ปุถุปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ (วิปุลปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง (คมฺภีรปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง(อสมตฺถปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน(ภูริปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก (ปญฺญาพาหุลฺลาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (สีฆปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเบา(ลหุปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง(หาสปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไว(ชวนปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม (ติกฺขปญฺญตาย)

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส(นิพฺเพธิกปญฺญตาย).

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา

ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส;

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติของชนเหล่าใด

เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติของชนเหล่าใด

ไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

เบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ

ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ไม่ส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ส้องเสพแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นส้องเสพแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้

ด้วยปัญญาอันยิ่ง;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด

ไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว;

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว

อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว,ดังนี้.

ฉบับ ๖ อานาปานสติ 141

(ไทย) เอก. อํ. ๒๐/๔๒/๒๒๕-๒๔๖: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อวิชชาภิกษุละได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลใด,

ในกาลนั้น ภิกษุนั้น, เพราะความสำรอกออกโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา

เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา, เธอย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันเป็นบุญ ;

ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันมิใช่บุญ ; ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่ง อภิสังขารอันเป็นอเนญชา ;

เมื่อ ไม่ปรุงแต่ง อยู่, เมื่อ ไม่มุ่งมาด อยู, เธอย่อม ไม่ถือมั่นสิ่งไรๆ ในโลก ;

เมื่อไม่ถือมั่นอยู, เธอย่อม ไม่สะดุ้งหวาดเสียว; เมื่อไม่สะดุ้งหวาดเสียวอยู่,

เธอย่อม ปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว. เธอย่อมรู้ประจักษ์ว่าชาติสิ้นแล้ว,

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ

เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกดังนี้.

ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่าเวทนานั้น ไม่เที่ยงอันเรา

ไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้วดังนี้. ถ้าเสวยทุกขเวทนา

ก็รู้ประจักษ์ว่าเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิด

เพลินเฉพาะแล้วดังนี้. ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่าเวทนานั้น

ไม่เที่ยง อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้วดังนี้.

ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ;

ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ;

ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น.

ภิกษุนั้น เมื่อเสวย เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า

เราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบดังนี้.

เมื่อเธอนั้น เสวย เวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบดังนี้.

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ว่าเวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว

จักเป็นของเย็น ในอัตตภาพนี้เอง ; สรีระทั้งหลายจักเหลืออยู่ ;

จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกายดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือน บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ

วางไว้พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงระงับหายไป ในที่นั้นเอง กระเบื้อง

ทั้งหลายก็เหลืออยู่ นี้ฉันใด ; ภิกษุทั้งหลาย. ! ภิกษุในกรณีนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

กล่าวคือ เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษว่าเราเสวย

เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบดังนี้. เมื่อเธอนั้น เสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็น

ที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบดังนี้.

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ว่าเวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะ

แล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้เอง; สรีระทั้งหลายจักเหลืออยู่ ; จนกระทั่ง

ถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกายดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ;

คือ ภิกษุผู้ขีณาสพ พึงปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร, หรือว่าพึงปรุงแต่ง อปุญญาภิสังขาร,

หรือว่า พึงปรุงแต่ง อเนญชาภิสังขาร, บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อสังขารทั้งหลาย ไม่มี, เพราะความดับแห่งสังขาร โดยประการทั้งปวง,

วิญญาณ พึงปรากฎ บ้างหรือหนอ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อวิญญาณ ไม่มี, เพราะความดับแห่งวิญญาณ โดยประการทั้งปวง,

นามรูป พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อนามรูป ไม่มี, เพราะความดับแห่งนามรูป โดยประการทั้งปวง,

สฬายตนะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อสฬายตนะ ไม่มี, เพราะความดับแห่งสฬายตนะ โดยประการทั้งปวง,

ผัสสะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อผัสสะ ไม่มี, เพราะความดับแห่งผัสสะ โดยประการทั้งปวง,

เวทนา พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อเวทนา ไม่มี, เพราะความดับแห่งเวทนา โดยประการทั้งปวง,

ตัณหา พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อตัณหา ไม่มี, เพราะความดับแห่งตัณหา โดยประการทั้งปวง,

อุปาทาน พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่ออุปาทาน ไม่มี, เพราะความดับแห่งอุปาทาน โดยประการทั้งปวง,

ภพ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อภพ ไม่มี, เพราะความดับแห่งภพ โดยประการทั้งปวง,

ชาติ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

เมื่อชาติ ไม่มี, เพราะความดับแห่งชาติ โดยประการทั้งปวง.

ชรามรณะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?

ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย. ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลาย จงทำความ

สำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด. ภิกษุทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลายจงปลงซึ่ง

ความเชื่อ ในข้อนั้นอย่างนั้นเถิด ; จงเป็นผู้หมดความเคลือบแคลงสงสัยใน

ข้อนั้นเถิด ; นั่นแหละที่สุดแห่งทุกข์ละ, ดังนี้ แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น หน้า ๗๖๓

(ไทย) นิทาน.สํ. ๑๖/๘๒/๑๙๒-๑๙๕: คลิกดูพระสูตร.

 

 

 

 

 

Today181
Yesterday462
This week1494
This month643
Total2358637

Who Is Online

30
Online