Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เมื่อเกิด ปีติ สุข จิตตั้งมั่น แล้วธรรมทั้งหลายจะปรากฏ ธรรมอะไรจะปรากฏ

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3


 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ในกรณีนี้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน

อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ;

ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว

ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย  ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น (อภัย) ทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ

เป็นของมีมานาน  เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย

ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน

และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล

นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวกละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกเว้นขาดจากอทินนาทานแล้ว ย่อมชื่อว่าให้อภัยทาน อเวรทาน

อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ;

ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว

ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย  ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สอง

เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน

เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย

ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และ

จักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดีมีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารแล้ว ย่อมชื่อว่าให้อภัยทาน อเวรทาน

อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ; ครั้นให้

อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมาก

ไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย

ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สาม

เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน

เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย

ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน

และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ไหลออกแห่งกุศลนำมาซึ่งสุข

เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี  มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์

เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.

หนังสือแก้กรรม หน้า ๑๑๑

(ภาษาไทย) อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๙๑/๑๒๙.: คลิกดูพระสูตร

 

 

พืชอันหว่านลงในนาที่สมบูรณ์ เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล

         ธัญชาติย่อมงอกงาม ไม่มีศัตรูพืช ย่อมแตกงอกงาม ถึง

         ความไพบูลย์ให้ผลเต็มที่ ฉันใด โภชนะที่บุคคลถวายใน

         สมณพราหมณ์ผู้มีศีลสมบูรณ์ ก็ฉันนั้น ย่อมนำมาซึ่งกุศล

         อันสมบูรณ์ เพราะกรรมที่เขาทำนั้นสมบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้น

         บุคคลในโลกนี้ผู้หวังกุศลสัมปทา จงเป็นผู้มีประโยชน์

         ถึงพร้อม พึงคบหาท่านผู้มีปัญญาสมบูรณ์ ปุญญสัมปทา

         ย่อมสำเร็จได้อย่างนี้ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

         ได้จิตสัมปทาแล้ว กระทำกรรมให้บริบูรณ์ ย่อมได้ผล

         บริบูรณ์ รู้โลกนี้ตามเป็นจริงแล้ว พึงถึงทิฐิสัมปทา อาศัย

         มรรคสัมปทา มีใจบริบูรณ์ ย่อมบรรลุอรหัต เพราะกำจัด

         มลทินทั้งปวงได้แล้ว บรรลุนิพพานสัมปทาได้แล้ว ย่อม

         หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น

         จัดเป็นสรรพสัมปทา

(ภาษาไทย) อฏฺฐ. อํ. ๒/๑๘๔/๑๒๔ : คลิกดูพระสูตร

 

[๙๗] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคต ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ

จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดวัน 

จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน จงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัวทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอด มัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ

 (ภาษาไทย) อุปริ. .. ๑๔/๖๓/๙๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 
Today254
Yesterday474
This week728
This month9120
Total2367114

Who Is Online

6
Online