Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

สายปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้นตลอดเวลาใช่หรือไม่ และจะตัดสายได้อย่างไร เมื่อใด

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

เสียง

 


แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

 วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย           จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย           จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย        จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย           จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย        จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย             จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย            จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย            จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย          จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย               จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย              จึงมีชราและมรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส

และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

 

 

นี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ฯ

ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ                  วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ               นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ                 สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ             ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ                    เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ                   ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ                   อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ                ภพจึงดับ

เพราะภพดับ                      ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ                     ชรา และมรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีใจยินดีชื่นชม ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

                                    

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๒๘ 

 (ไทย) นิทาน. สํ.  ๑๖/๑/๒-๓ : คลิกพระสูต

(บาลี) นิทาน. สํ.  ๑๖/๑/๒-๓ : คลิกพระสูตร     

 

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง

ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย

เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ

เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน

เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ

เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ

ภิกษุเห็นใจอันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ

เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย

เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ

เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน

เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ

 

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา

กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุทุกประการ).

  

มรรค(วิธีที่)ง่าย  หน้า ๑๙

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕ : คลิกพระสูต

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕ : คลิกพระสูต

 

 

 

 

 

 

 

 

Today455
Yesterday684
This week4006
This month14024
Total2521329

Who Is Online

78
Online