Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เพียงแค่การปรารภความเพียรขณะ ยืน, เดิน, นั่ง เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน สามารถทำให้ธรรมทั้งปวงครบถ้วนบริบูรณ์ได้อย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

เสียง



แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

 วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

[๖๐๖] พ. ดูกรนายคามณี ขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ฉันใด

เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

แก่ภิกษุและภิกษุณีของเราเหล่านั้น ฉันนั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน

มีเราเป็นสรณะอยู่ ดูกรนายคามณี ขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ ฉันใด

เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

แก่อุบาสกและอุบาสิกาของเราเหล่านั้น (เป็นที่สอง) ฉันนั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะอุบาสกและอุบาสิกาเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน

มีเราเป็นสรณะอยู่ ดูกรนายคามณี ขวดน้ำมีช่อง ใส่น้ำได้ ทั้งเจ้าของใช้ ฉันใด

เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

แก่อัญเดียรถีย์สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกของเราเหล่านั้น (ในที่สุด) ฉันนั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะแม้ไฉนอัญเดียรถีย์ สมณะพราหมณ์ และ ปริพาชกจะพึงรู้ทั่วถึงธรรมนั้นแม้บทเดียว

ความรู้นั้นก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่เขาสิ้นกาลนาน ฯ

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๒๔/๖๐๖: คลิกดูพระสูตร

 

 

[๘๒๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ส่วนบุคคล

เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ  ตามความเป็นจริง 

เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป  ตามความเป็นจริง 

เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ  ตามความเป็นจริง 

เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัสตาม ความเป็นจริง 

เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์  เป็นสุขก็ตาม  เป็นทุกข์ก็ตาม  มิใช่ทุกข์

มิใช่สุขก็ตาม  ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย  ตามความเป็นจริง 

ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ

ไม่กำหนัดในรูป 

ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ 

ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส 

ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์  เป็นสุขก็ตาม  เป็นทุกข์ก็ตาม  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม 

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย 

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว  ไม่ประกอบพร้อมแล้ว  ไม่ลุ่มหลง  เล็งเห็นโทษอยู่

ย่อมมีอุปาทานขันธ์  ๕  ถึงความไม่พอกพูน  ต่อไปและเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ 

สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี  อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ 

จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย

 แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย   

แม้ทางใจได้  จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย 

แม้ทางใจได้  เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง  สุขทางใจบ้าง  บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว 

มีความเห็นอันใด  ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น  สัมมาทิฐิ 

มีความดำริอันใด  ความดำริ อันนั้นย่อมเป็น สัมมาสังกัปปะ 

มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็น สัมมาวายามะ

มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็น สัมมาสติ 

มีความตั้งใจอันใด  ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็น สัมมาสมาธิ 

ส่วนกายกรรม  วจีกรรม  อาชีวะของเขา  ย่อมบริสุทธิ์ดีใน เบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้  เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์  ฯ

 [๘๒๙]  เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้  ชื่อว่า 

มีสติปัฏฐาน๔ 

สัมมัปปธาน  ๔ 

อิทธิบาท  ๔ 

อินทรีย์  ๕ 

พละ  ๕ 

โพชฌงค์  ๗ 

ถึงความเจริญบริบูรณ์บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้  คือ สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป 

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญา

อันยิ่ง  ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

 

 

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๕/๘๒๘-๘๒๙: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

Today411
Yesterday456
This week2609
This month1758
Total2359752

Who Is Online

13
Online