Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ขณะปฏิบัติธรรม มีอาการปวดขา เหน็บชา จะต้องทำความเพียรต่อไปอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ 1

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน   2554/34

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

 

วิดีโอ 2

 

สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์   22 ม.ค. 2554

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

วิดีโอ 3

 

สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์   15 ก.ย. 2555

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ผู้อยู่ใกล้นิพพาน

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วย ธรรมสี่อย่างแล้ว ไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียว

ธรรมสี่อย่าง อะไรบ้างเล่า สี่อย่าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ.

ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยันค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี,

ครั้นยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น,

ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ก็ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม และด้วยการนั่งอีก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ตามประกอบในชาคริยธรรม อยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างเหล่านี้แล้ว ไม่อาจที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียวแล.

พุทธวจน ก้าวย่างอย่างพุทธะ หน้า ๙๘.

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๙/๓๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

จงเป็นผู้มีสติคู่กันไปกับสัมปชัญญะ

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่งมีสัมปชัญญะ : นี้เป็นอนุสสนีของเรแก่พวกเธอทั้งหลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นอย่งไรเล่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้เห็นยในกอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก;

เป็นผู้เห็นเวทนในเวทนอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่ง อภิชฌาและโทมนัสในโลก;

เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก;

เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่งไรเล่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ   ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่งมีสัมปชัญญะ :

นี้เป็น อนุสสนีของเรแก่พวกเธอทั้งหลย.

พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๒๓๙.

(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๘๒/๙๐. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ผูมีความเพียรตลอดเวล

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังเดินอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิด ด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนอนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด ในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังนอนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิตย์ แล.

พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย หน้า ๑๐๖.

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๒/๑๑ : คลิกดูพระสูตร

 

 

ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลถึงพร้อมแล้ว มีปาติโมกข์พร้อมแล้ว สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย อยู่ดังนี้แล้ว ยังมีกิจอะไรที่เธอทั้งหลายต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุแม้ เดินอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจาก พ๎ยาบาท, ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้เดินอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุแม้ ยืนอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจาก พ๎ยาบาท, ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้ยืนอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุแม้ นั่งอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจาก พ๎ยาบาท, ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นั่งอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุแม้ นอนตื่นอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจาก พ๎ยาบาท, ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นอนตื่นอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๑๓๐ – ๑๑๓๑

(ภาษาไทย)   จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓/๑๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

ลักษณะของผู้ตั้งจิตในกายคตาสติ

(จิตที่มีเสาหลักมั่นคง)

ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจระเข้...จับนก...จับสุนัขบ้าน...จับสุนัขจิ้งจอก... และจับลิงมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อน หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลาย !

ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ : งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า

ภิกษุทั้งหลาย !

ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไป ยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง

ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว

ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ

รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง

เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม

กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ

รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ

สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ

ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย !

คำว่า เสาเขื่อน หรือเสาหลักนี้ เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า

กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก

กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดีดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !

พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) หน้า ๖๗.

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๑๔/๓๕๐.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

นิสงส์แห่งกยคตสติ

ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชช ย่อมหยั่งลงในภยในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น;   ...ฯลฯ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทมิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนมิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง.

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ ยคตสติ

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคมิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง ...ฯลฯ...

พุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๑๔๑.

(ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐/๔๔/๒๓๓. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ความเพียร ๔ ประเภท

ภิกษุทั้งหลาย ! ปธานสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ

สังวรปธาน(เพียรระวัง), ปหานปธาน(เพียรละ),

ภาวนาปธาน(เพียรบำเพ็ญ),อนุรักขนาปธาน(เพียรตามรักษาไว้)

ภิกษุทั้งหลาย ! สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น

ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้

เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า สังวรปธาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น

ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้

เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปหานปธาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น

ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้

เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น

ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้

เพื่อความตั้งอยู่ความไม่เลอะเลือน

ความงอกงามยิ่งขึ้นความไพบูลย์ความเจริญ

ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ปธานสี่อย่าง

พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) หน้า ๕๖

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๗๓/๖๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ต้องขึงสยพิณพอเหม

โสณะ ! เธอมีความคิดในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร : เมื่อก่อนแต่ครั้งเธอยังเป็นคฤหัสถ์ เธอเชี่ยวชาญในเรื่องเสียงแห่งพิณ  มิใช่หรือ ?

เป็นเช่นนี้  พระเจ้าข้า !”.

 

โสณะ ! เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อใด สายพิณของเธอขึงตึงเกินไป เมื่อนั้น พิณของเธอจะมีเสียงไพเราะน่าฟังหรือ  จะใช้การได้หรือ ?

ไม่เป็นเช่นนั้น  พระเจ้าข้า !”.

 

โสณะ ! เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อใดสายพิณของเธอขึงหย่อนเกินไป เมื่อนั้น พิณของเธอจะมีเสียงไพเราะน่าฟังหรือ  จะใช้การได้หรือ ?

ไม่เป็นเช่นนั้น  พระเจ้าข้า !”.

 

โสณะ !   แต่ว่า เมื่อใด สายพิณของเธอ ไม่ตึงนัก หรือไม่หย่อนนัก ขึงได้ระเบียบเสมอๆ กันแต่พอดี เมื่อนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะน่าฟังหรือใช้การได้ดี มิใช่หรือ ?

เป็นเช่นนั้น  พระเจ้าข้า !”.

 

โสณะ ! ข้อนี้ก็เป็นเช่นนั้นแล กล่าวคือ ควมเพียรที่บุคคลปรรภจัดเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อควมฟุ้งซ่, ย่อหย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อควมเกียจคร้น.

โสณะ ! เหตุผลนั้นแล เธอจงตั้งควมเพียรแต่พอดี, จงเข้ใจควมที่อินทรีย์ทั้งหลย ต้องเป็นธรรมชติที่เสมอๆ กัน, จงกำหนดหมยในควมพอดีนั้นไว้เถิด.

พระเจ้าข้า ! ข้าพระองค์จักปฏิบัติอย่างนั้น”.

พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๑๕๘.

(ภาษาไทย) ฉกฺก. อํ ๒๒/๓๓๙/๓๒๖. : คลิกดูพระสูตร

 

 

โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่าสติสัมโพชฌงค์ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิตก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง. ...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ความสงบกายก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้สงบจิตก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศแม้โดยปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง. ...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๖.

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓๗/๕๕๙-๕๖๗.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว. ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะ การศึกษาโดยลำดับ เพระการกระทำโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :

เป็นผู้ มีสัทธา เกิดขึ้นแล้ว      ย่อม เข้าไปหา (สัปบุรุษ) ;

เมื่อเข้าไปหา                     ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ;

เมื่อเข้าไปนั่งใกล้                 ย่อม เงี่ยโสตลงสดับ ;

ผู้เงี่ยโสตลงสดับ                 ย่อม ได้ฟังธรรม ;

ครั้นฟังแล้ว                       ย่อม ทรงจำธรรมไว้, ย่อม ใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้ ;

เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่, ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ ;

เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่    ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด;

ผู้เกิดฉันทะแล้ว                  ย่อม มีอุตสาหะ ;

ครั้นมีอุตสาหะแล้ว              ย่อม ใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง);

ครั้นใชดุ้ลยพินิจ (พบ) แล้ว      ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรม นั้น;

ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อม กระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย, ย่อม เห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๘๕๒

(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๑๘๑-๑๘๒/๒๓๘. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ผู้สามารถละอาสวะทั้งหลาย ในส่วนที่ละได้ด้วยการเห็น

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัปบุรุษฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ, ย่อมรู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจ และไม่ควรกระทำไว้ในใจ.

อริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจและไม่ควรกระทำไว้ในใจ, ท่านย่อมไม่กระทำไว้ในใจซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ, จะกระทำไว้ในใจแต่ธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลายอันไม่ควรกระทำไว้ในใจ ที่อริยสาวกท่านไม่กระทำไว้ในใจนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเหล่าใด อยู่, กามาสวะ ภวาสวะ หรืออวิชชาสวะ ก็ตาม ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญยิ่งขึ้น; ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ ซึ่งอริยสาวกท่านไม่กระทำไว้ในใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลาย อันเป็นธรรมที่ควรกระทำไว้ในใจ ที่อริยสาวกท่านกระทำไว้ในใจนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! กามาสวะ ภวาสวะ หรืออวิชชาสวะ ก็ตาม ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละไป แก่บุคคลผู้กระทำซึ่งธรรมเหล่าใดไว้ในใจ อยู่; ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ควรกระทำไว้ในใจ ซึ่งอริยสาวกท่านกระทำไว้ในใจ.

เพราะอริยสาวกนั้น

ไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ

แต่มากระทำไว้ในใจ ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจเท่านั้น,

อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด จึงไม่เกิดขึ้น และ

อาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละไป.

อริยสาวกนั้น ย่อม

กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้,

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้,

ทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้.

เมื่ออริยสาวกนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคายอยู่อย่างนี้, สังโยชน์สาม คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมละไป.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายจะพึงละเสียด้วยการเห็น.

คู่มือโสดาบันหน้า ๑๗๗

(ภาษาไทย) มู. . ๑๒/๑๑-๑๓/๑๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

หลักเกณฑ์พยากรณ์ภาวะโสดาบันของตนเอง

คหบดี ! ในกาลใด ภัยเวร ๕ ประการอันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ด้วย, อริยสาวกประกอบพร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่ ด้วย, อริยญายธรรม เป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วยปัญญา ด้วย;

ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ก็พยากรณ์ตนด้วยตน นั่นแหละว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว, เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้าดังนี้.

คหบดี ! ภัยเวร ๕ ประการ เหล่าไหนเล่า อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ?

() คหบดี ! บุคคลผู้ฆ่าสัตว์อยู่เป็นปกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) บ้าง, ย่อมประสพภัยเวรใดในสัมปรายิก (ในเวลาถัดต่อมา) บ้าง, ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้นๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.

(ในกรณีแห่ง อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และ สุราเมรยมัชชปาน  ก็ได้ตรัสข้อความไว้โดยทำนองเดียวกัน)

คหบดี ! ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้แล อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว.

…          …          …       …

คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย องค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่าไหนเล่า ?

() คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.

() คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนดังนี้.

() คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้.

() คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้แล.

…       …       …     …

คหบดี ! ก็ อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วยปัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ...  ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”.

คหบดี ! อริยญายธรรม นี้แล เป็นธรรมที่อริยสาวกนั้นเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วยปัญญา.

คหบดี ! ในกาลใดแล ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วด้วย, อริยสาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่เหล่านี้ ด้วย, อริยญายธรรมนี้ เป็นธรรมอันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาด้วย; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นปรารถนาอยู่ ก็พยากรณ์ตนด้วยตนนั้นแหละว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว, เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้าดังนี้.__

พุทธวจน คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๑-๑๕

ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๗-๑๕๘/๙๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

Today141
Yesterday317
This week1044
This month8290
Total2355633

Who Is Online

10
Online