Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การเห็นจิตเกิด-ดับ เพื่ออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์  วันที่ 21 พ.ค. 54
 
บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ภิกษุทั้งหลาย!  เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง.

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ?

ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งรูป .... แห่งเวทนา .... แห่งสัญญา .... แห่งสังขาร .... แห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย!  การเกิดขึ้นแห่งรูป .... แห่ง เวทนา .... แห่ง สัญญา .... แห่งสังขาร ....

 แห่ง วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่.

ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย!  ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป.

เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในรูป, ความเพลิดเพลินนั้นคืออุปาทาน.เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีของ การเกิดขึ้นแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย!  นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา…. แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณ.ภิกษุทั้งหลาย! ความดับแห่งรูป …. แห่ง เวทนา …. แห่ง สัญญา ….แห่ง สังขาร …. แห่ง วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ย่อมไม่พรํ่าสรเสริญ  ย่อมไม่เมาหมกอยู่. ภิกษุนั้นย่อมไม่เพลิดเพลิน  ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ  ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย!  ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยูซึ่งรูป.

เมื่อภิกษนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่ง รูป, นันทิ (ความเพลิน) ใด ในรูป, นันทินั้นย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทานจึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ  โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีของ การดับแห่งเวทนา แห่ง สัญญา แห่ง สังขาร และแห่ง วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! นี้คือ ความดับแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา ….แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณ, แล.

 (ภาษาไทย) ขนฺธ.สํ. ๑๗/๑๓/๒๗๒๙: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

Today450
Yesterday423
This week450
This month8842
Total2366836

Who Is Online

16
Online