Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ถ้านั่งปฏิบัติไม่ขยับเลยจนเวทนาหายไปเองแสดงว่าก้าวหน้าใช่หรือไม่

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

 

บางส่วนจาก สนทนาธรรมค่ำเสาร์ ๑๑ ก.พ.๒๕๕๕

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4,mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

 

อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

 

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำ.งับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

 

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

 

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

 

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย

 

(ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ

รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้นๆ, คือ

 

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำ.ตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งนำ้.ลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดนำ้บนกระทะเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

 

 

หนังสืออินทรีย์สังวร หน้า ๑๑๒

(ไทย)อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๙–๕๕๒/๘๕๖–๘๖๑:คลิกดูพระสูตร

(บาลี)อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑:คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

Today227
Yesterday406
This week633
This month10433
Total2357776

Who Is Online

9
Online