Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

กายสังขาร หมายถึงอะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ 1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

เสียง1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

อิริยาปถบรรพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืนก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.

สัมปชัญญบรรพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะในการก้าวไปและถอยกลับ ในการแลไปข้างหน้า และเหลียวซ้ายเหลียวขวา ในการคู้อวัยวะเข้า และเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.

 

 

 

(ภาษาไทย) นวก. อํ. ๑๒/๗๔/๑๓๔-๑๓๕. : คลิกดูพระสูตร

 

วิบากของมิจฉากัมมันตะ

        ภิกษุ ท. ! ปาณาติบาต ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวงคือวิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.

        ภิกษุ ท. ! อทินนาทาน  ที่เสพทั่วแล้ว  เจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งอทินนาทานของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคะ.

        ภิกษุ ท. ! กาเมสุมิจฉาจาร  ที่เสพทั่วแล้ว  เจริญแล้ว   ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัยวิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ ก่อเวรด้วยศัตรู.

วิบากแห่งมิจฉาวาจา

ภิกษุ ท. ! มุสาวาท ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อม

เป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งมุสาวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง.

        ภิกษุ ท. ! ปิสุณวาท (คำยุยงให้แตกกัน) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน   เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปิสุณวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง  คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การแตกจากมิตร.

        ภิกษุ ท. ! ผรุสวาท (คำหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน  เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย  วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อการได้ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจ.

        ภิกษุ ท. ! สัมผัปปลาวาท (คำเพ้อเจ้อที่เสพทั่วแล้ว  เจริญแล้วทำให้มากแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อนรก  เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน   เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งสัมผัปปลาปวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง  คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ  วาจาที่ไม่มีใครเชื่อถือ.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๑๐๗๘-๑๐๗๙

(ภาษาไทย) อฏฐก. อํ. ๒๓/๑๙๒/๑๓๐. :คลิกดูพระสูตร

 

 

 

ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ

       ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลถึงพร้อมแล้ว   มีปาติโมกข์ถึงพร้อมแล้ว สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์    ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายอยู่ดังนี้แล้ว  ยังมีกิจอะไรที่เธอทั้งหลายต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล่า ?

       ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุแม้เดินอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจากพ๎ยาบาทถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุ ท. !  ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้เดินอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส  ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส)  เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

       ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุแม้ยืนอยู่   เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา,    ปราศจากพ๎ยาบาทถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน,   สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียวภิกษุ ท. !    ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้ยืนอยู่  ก็เรียกว่า  ผู้ทำความเพียรเผากิเลส   ผู้กลัว  (ต่อความเป็นทาสของกิเลสเป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

       ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุแม้นั่งอยู่  เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจากพ๎ยาบาทถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นั่งอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส  ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส)  เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

       ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุแม้ นอนตื่นอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจากพ๎ยาบาทถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว,ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อนสติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียวภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้  แม้นอนตื่นอยู่  ก็เรียกว่า  ผู้ทำความเพียรเผากิเลส   ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

 

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓/๑๒. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

Today173
Yesterday428
This week173
This month9973
Total2357316

Who Is Online

25
Online