Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ยศของพระมีหรือไม่ในสมัยพุทธกาล

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 


วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ ๒๒ ม.ค. ๒๕๕๔

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี
ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอันตรายที่ทารุณ แสบเผ็ด หยาบคาย

ต่อการบรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าว ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ว่าเป็นอันตราย แม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้วดังนี้.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้, ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามขึ้นว่า

ลาภสักการะและเสียงเยินยอ เป็นอันตรายแก่ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ชนิดไรเล่า พระเจ้าข้า ?” ดังนี้.

อานนท์ ! เราหาได้กล่าวลาภสักการะและเสียงเยินยอ ว่าเป็นอันตรายต่อเจโตวิมุตติอันไม่กลับกำเริบแล้วไม่.

อานนท์ ! แต่เรากล่าวลาภสักการะและเสียงเยินยอ ว่าเป็นอันตรายต่อการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมนี้  ซึ่งภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสมีตนส่งไปแล้วในธรรมเครื่องสงบ ได้ลุถึงแล้ว.

อานนท์ ! ลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอันตรายที่ทารุณ แสบเผ็ด หยาบคายต่อการบรรลุ

พระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้ว่า

เราทั้งหลาย จักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น.

อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้วต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเราดังนี้.

อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

หนังสือฉบับ ๙ ปฐมธรรม    หน้า 63  

(ภาษาไทย)นิทาน. สํ. ๑๖/๒๓๔/๕๘๐: คลิกดูพระสูตร

 

 

[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่ออิจฉานังคละ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มี

พระภาคประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้บ้านพราหมณคาม ชื่ออิจฉานังคละ พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านอิจฉานังคละได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้พราหมณคามชื่ออิจฉานังคละ ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น เป็นการดีแลดังนี้ ครั้งนั้นพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ เมื่อล่วงราตรีไป จึงพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นจำนวนมาก เข้าไปทางไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ครั้นแล้ว ได้ยืนชุมนุมกันที่ซุ้มประตูด้านนอก ส่งเสียงอื้ออึง สมัยนั้น ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระนาคิตะว่า ดูกรนาคิตะ ก็พวกใครส่งเสียงอื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละเหล่านั้น พากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นจำนวนมาก มายืนประชุมกันที่ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวายพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ ฯ

     พ. ดูกรนาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่พึงได้ตามความปรารถนา

ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก

สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่ความตรัสรู้ ที่เราพึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก

 ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอน และสุขที่อาศัยลาภ สักการะ

 และการสรรเสริญ ฯ

     นา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับ ขอพระสุคตจงทรงรับ

บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระผู้มีพระภาคจักเสด็จไปทางใดๆ พราหมณ์และ

คฤหบดีชาวนิคมและชาวชนบท ก็จักหลั่งไหลไปทางนั้นๆ เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำ

ก็ย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ฉันใดพระผู้มีพระภาคจักเสด็จไปทางใดๆ พราหมณ์และคฤหบดีชาว

นิคมและชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้นๆ ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศีลและปัญญา

ของพระผู้มีพระภาค ฯ

พ. ดูกรนาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่พึงได้ตามความปรารถนา

 ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุข

อันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่ความตรัสรู้ ที่เราพึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่อยาก

 ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอน และสุขที่อาศัยลาภ สักการะ

และการสรรเสริญ ดูกรนาคิตะ อาหาร ที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมมีอุจจาระและปัสสาวะ

เป็นผล นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น ความรักมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาส ที่

เกิดขึ้นเพราะสิ่งที่รักแปรปรวนเป็นอื่นเป็นผล นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น ความเป็นของปฏิกูลใน

อสุภนิมิต ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้ขวนขวายการประกอบตามอสุภนิมิต นี้เป็นผลแห่งการประกอบ

ตามอสุภนิมิตนั้นความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงใน

ผัสสายตนะ ๖ อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในผัสสายตนะนั้นความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความเกิด และความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์นั้น ฯ

จบปัญจังคิกวรรคที่ ๓

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ.. ๒๒/๒๘/๓๐: คลิกดูพระสูตร

 

 

Today415
Yesterday429
This week2157
This month1306
Total2359300

Who Is Online

9
Online