ทุกขอริยสัจที่ว่ากล่าวโดยย่อแล้วอุปาทานขันธ์ห้าเป็น ทุกข์ หมายความว่าอย่างไร
บางส่วนจากการแสดงธรรม ณ ยุวพุทธธิกสมาคม 9 ส.ค. 55 บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน สังโยชน์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า สังโยชน์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์. (ไทย)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๐๘/๓๐๘:คลิกดูพระสูตร (บาลี)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘:คลิกดูพระสูตร
ภิกษุ ท.! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่. สิบประการอย่างไรเล่า? สิบประการ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า? คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะอุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สัญโยชน์ ๑๐ ประการ. (ไทย)ทสก. อํ. ๒๔/๑๖-๑๗/๑๓:คลิกดูพระสูตร
(บาลี)ทสก. อํ. ๒๔/๑๘-๑๙/๑๓:คลิกดูพระสูตร
วิดีโอ