Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

จิตสงบ ตามแนวพุทธวจนคืออย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

 

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ  แม้วิตกวิจรก็สงบ  ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชแม้ทั้งสิ้นก็ถึงควมเจริญบริบูรณ์. ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ ยคตสติ.

ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมข้อหนึ่งนี้แล  อันบุคคลเจริญแล้ว  กระทำให้มากแล้ว  แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ  ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์

 

พุทธวจน อานาปานสติ  หน้า ๑๔๒

 (ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐/๔๓/๒๒๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว

ตาก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ

รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

หูก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง

เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

จมูกก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม

กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

ลิ้นก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ

รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

กายก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ 

สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง

และใจก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ 

ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึก อึดอัดขยะแขยง

ภิกษุทั้งหลาย !  พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

 

อินทรียสังวร  หน้า ๖๗

(ภาษาไทย) สฬา. สํ.  ๑๘/๒๑๔/๓๕๐.: คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้มิได้สดับจะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้  โดยความเป็นตน  ยังชอบกว่าแต่จะเข้าไปยึดถือเอา จิต โดยความเป็นตนนั้น  หาชอบไม่  ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?  เพราะเหตุว่า  ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้  เมื่อดำรงอยู่  ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง  ย่อมปรากฏ

แต่ว่า ตถาคต เรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง  มหาภูตทั้ง ๔  นี้ว่า จิตบ้าง  มโนบ้าง วิญญาณบ้าง  จิต  เป็นต้นนั้น  ดวงหนึ่งเกิดขึ้น  ดวงหนึ่งดับไป  ตลอดคืน  ตลอดวัน

 

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ.  ๑๖/๙๓/๒๓๑. : คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ) ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ) และ  ย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ)  สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.

เมื่ออารมณ์มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ  ย่อมมี;

เมื่อวิญญาณนั้นตั้งขึ้นเฉพาะเจริญงอกงามแล้ว,  ความเกิดขึ้น  แห่งภพใหม่ต่อไป  ย่อมมี;

เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปย่อมมี, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย  จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

พุทธวจน อินทรียสังวร  หน้า ๓๔

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๓/๑๔๕. : คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้ไปส้องเสพ ก็ถึงควมเจริญ งอกงม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอเวทนตั้งอยู่  ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์  มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้ไปส้องเสพ  ก็ถึงควมเจริญ งอกงม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,  เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์  มีสัญญาเป็น ที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้ไปส้องเสพ  ก็ถึงควมเจริญ งอกงม ไพบูลย์ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,  เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์  มีสังขารเป็น ที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้ไปส้องเสพ  ก็ถึงควมเจริญ งอกงม ไพบูลย์ได้;

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เราจัก บัญญัติ  ซึ่งการมา  การไป การจุติ  การอุบัติ  ความเจริญ ความงอกงาม  และความไพบูลย์ของวิญญาณ  โดยเว้นจากรูป  เว้นจากเวทนา  เว้นจากสัญญา  และเว้นจากสังขารดังนี้นั้นนี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.    

พุทธวจน ตามรอยธรรม  หน้า ๔๗ 

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๓/๑๐๕. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย  โดยลำดับ  คือ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  ปฐมฌาน  (สงัด จากกามทั้งหลาย  สงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลาย)   วาจา  ย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  ทุติยฌาน  (เพราะ วิตก วิจาร รำงับไป)  วิตก  วิจาร ย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  ตติยฌาน  (เพราะ ความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา)ปีติ  ย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  จตุตถฌาน  (เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัส และโทมนัส ในกาลก่อน)  ลมอัสสาสะ  ปัสสาสะ  ย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  อากาสานัญจายตน (ก้าวล่วงรูปสัญญาเสีย โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญาทั้งหลาย  อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด) รูปสัญญา  ย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  วิญญาณัญจายตน (ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ  อันมีการทำในใจว่า  วิญญาณไม่มีที่สุด)  อากาสานัญจายตนสัญญา  ย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  อากิญจัญญายตน (ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าว่างเปล่า ไม่มีอะไร)  วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  เนวสัญญานาสัญญายตน (ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ)  อากิญจัญญายตนสัญญา  ย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุเข้าถึง  สัญญาเวทยิตนิโรธ (ก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ) สัญญา และ เวทนา  ย่อมดับ

เมื่อ  ภิกษุ  เป็นผู้สิ้นอาสวะ  ราคะ โทสะ โมหะ  ของภิกษุ ผู้สิ้นอาสวะ  ย่อมดับ

  

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๓๑/๓๙๓.: คลิกดูพระสูตร

ภิกษุทั้งหลาย  !  เธอทั้งหลาย  จงมีศีลสมบูรณ์   มีปาติโมกข์สมบูรณ์  อยู่เถิด พวกเธอทั้งหลาย จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด  จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายที่มีประมาณน้อย   สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

ภิกษุทั้งหลาย !  ถ้าภิกษุหากจำนงว่า

เราพึงเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่เคารพ ที่ยกย่อง ของเพื่อน ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยกันทั้งหลาย”  เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลย  พึงตมประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิต  ในภยใน   เป็นผู้ไม่เหินห่งในฌน   ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยวิปัสสน  และ  ให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญรทั้งหลยเจริญงอกงมเถิด.

เราพึงเป็นผู้มีลาภด้วยบริขาร  คือ  จีวร บิณฑบาต  เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย”  เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล

เราบริโภค  จีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของทายกเหล่าใด  การกระทำเหล่านั้นพึงมีผลมากมีอานิสงส์มากแก่ทายกเหล่านั้นเธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล

ญาติสายโลหิตทั้งหลาย  ซึ่งตายจากกันไปแล้ว  มีจิตเลื่อมใส  ระลึกถึงเราอยู่  ข้อนั้นจะพึงมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  แก่เขาเหล่านั้น”   เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล

เราพึงอดทนได้ซึ่ง  ความไม่ยินดี   และ  ความยินดีอนึ่ง  ความไม่ยินดีอย่าเบียดเบียนเรา, เราพึงครอบงำย่ำยี  ความไม่ยินดี  ซึ่งยังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิดเธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล

เราพึงอดทนความขลาดกลัวได้, อนึ่ง ความขลาดกลัว อย่าเบียดเบียนเรา, เราพึงครอบงำย่ำยี  ความขลาดกลัว  ที่บังเกิดขึ้นแล้วอยู่เถิดเธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล

เราพึงได้ตามต้องการ  ได้ไม่ยาก  ได้ไม่ลำบาก  ซึ่งฌานทั้งสี่  อันเป็นไป ในจิตอันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร”  เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล

เราพึงเป็นโสดาบัน  เพราะความสิ้นไป  แห่งสังโยชน์สาม  เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา  ผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน  มีการตรัสรู้   อยู่ข้างหน้า”  เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล

เราพึงเป็นสกทาคามี   เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม  และ  เพราะความเบาบางแห่งราคะ  โทสะ  และโมหะ  พึงมาสู่เทวโลกอีกครั้งเดียวเท่านั้น   แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”  เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล...

เราพึงเป็นโอปปาติกะ  (พระอนาคามี)   เพราะ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้า พึงปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดาเธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหล...

เราพึงแสดงอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ  ได้” …  “เราพึงมีทิพยโสต” … “เราใคร่ครวญแล้ว พึงรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น, ของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิตของตน” ... “เราพึงตามระลึกถึงภพที่เคยอยู่ในกาลก่อนได้หลายๆอย่าง” … “เราพึงเห็นสัตว์ทั้งหลาย ด้วยจักษุทิพย์   อันหมดจดเกินจักษุสามัญของมนุษย์” …  ดังนี้ก็ดี,  …   เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลย พึงตมประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิตในภยใน เป็นผู้ไม่เหินห่งในฌน ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิปัสสน  และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญรทั้งหลยเจริญงอกงมเถิด.

ภิกษุทั้งหลาย !  ถ้าภิกษุหากจำนงว่า

เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย   ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเทียว   เข้าถึงแล้วแลอยู่   ดังนี้ก็ดี, เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลย  พึงตมประกอบในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งจิต ในภยใน  เป็นผู้ไม่เหินห่งในฌน  ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิปัสสน  และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญรทั้งหลยเจริญงอกงมเถิด.

คำใดที่เราผู้ตถาคตกล่าวแล้วว่า

ภิกษุทั้งหลาย !  เธอทั้งหลาย  จงมีศีลสมบูรณ์   มีปาติโมกข์สมบูรณ์  อยู่เถิด  เธอทั้งหลาย  จงสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร   สมบูรณ์ด้วยมรรยาท  และโคจรอยู่เถิด  จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย ที่มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้.

คำนั้นอันเราตถาคต  อาศัยเหตุผลดังกล่าวนี้แล  จึงได้กล่าวแล้ว.

พุทธวจน ปฐมธรรม  หน้า ๑๓๕

(ภาษาไทย ) มู. ม. ๑๒/๔๓/๗๓-๙๐. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
Today750
Yesterday704
This week2925
This month1454
Total2532317

Who Is Online

17
Online