Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

ขอคำอธิบายเกี่ยวกับ ขันธ์ ๕

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ 1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ยุวพุทธิกสมาคม   ๑๖-๑๘  พ.ย. ๕๓

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

วิดีโอ 2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ยุวพุทธิกสมาคม ครั้งที่ ๓ (Track 2)   ๒๖ ม.ค. ๕๒

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นตัวทุกข์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย! ปัญจุปาทานขันธ์นั้น ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร, และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ. เหล่านี้แล เรียกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นตัวทุกข์.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๕๔

 (ภาษาไทย)มหา. ที. ๑๐/๒๒๖/๒๙๕.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง และรูปที่อาศัยมหาภูตสี่อย่างเหล่านั้นด้วย ; นี้ เรียกว่า รูป.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๕๕

(ภาษาไทย)นิทาน. สํ. ๑๖/๓/๑๔; คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! ธาตุมีสี่อย่างเหล่านี้.  สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?  สี่อย่างคือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และวาโยธาตุ(ธาตุลม).

ภิกษุ ทั้งหลาย! เหล่านี้แล คือ ธาตุสี่อย่าง.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๕๖

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๖๙/๔๐๓.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย, และ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า เวทนา.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๖๙

(ภาษาไทย)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๘/๑๑๔.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่าเวทนาเพราะอาศัยความหมาย

อะไรเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่

ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา. สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้

ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความ

รู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง, และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง

(ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้

มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๗๐

(ภาษาไทย)ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๖/๑๕๙.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! เมื่อฝนเมล็ดหยาบ ตกในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน), ต่อมนํ้า

ย่อมเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นต่อม

น้ำนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา

โดยแยบคายอยูต่อมนํ้านั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่าและปรากฏ

เป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ทั้งหลาย! ก็แก่นสารในต่อมน้ำนั้นจะพึงมีได้

อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;

ภิกษุ ทั้งหลาย! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; ภิกษุรู้สึกในเวทนานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นรู้สึกอยู่เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, เวทนานั้น ย่อมปรากฏเป็ นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ทั้งหลาย! ก็แก่นสารในเวทนานั้นจะพึงมีได้อย่างไร.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๗๐

(ภาษาไทย) - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๑/๒๔๓.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? หมู่แห่งสัญญาหกเหล่านี้คือ สัญญา

ในรูป, สัญญาในเสียง, สัญญาในกลิ่น, สัญญาในรส, สัญญาในโผฏฐัพพะ,

และสัญญาในธรรมารมณ์. ภิกษุ ทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า สัญญา.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๙๓

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๙/๑๑๕.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! คนทั่วไป กล่าวกันว่าสัญญาเพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา. สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งอะไร ?

สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเหลืองบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีแดงบ้าง, และย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีขาวบ้าง (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๙๔

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๖/๑๕๙.: คลิกดูพระสูตร

 

 

(เรื่องควรดูประกอบในปฏิจจ. โอ. หน้า ๓๒๓)

ภิกษุ ทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย! หมู่แห่งเจตนา หกเหล่านี้ คือ สัญเจตนา (ความคิดนึก) ในเรื่องรูป, สัญเจตนาในเรื่องเสียง,

สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น, สัญเจตนาในเรื่องรส, สัญเจตนาในเรื่องโผฎฐัพพะ,

และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์. ภิกษุ ทั้งหลาย! นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๙๘

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๙/๑๑๖.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! คนทั่วไป กล่าวกันว่าสังขารทั้งหลายเพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า? ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร. สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ? สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นรูป, ย่อมปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา, ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสัญญา, ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสังขาร, และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นวิญญาณ. ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสังขารทั้งหลาย.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๙๙

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! บุรุษผู้หนึ่งมีความต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวหาแก่นไม้อยู่, เขาจึงถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า. เขาเห็น ต้นกล้วยต้นใหญ่ ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังอ่อนอยู่ ยังไม่เกิดแกนไส้. เขาตัดต้นกล้วยนั้นที่โคน แล้วตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบออก. บุรุษนั้น เมื่อปอกกาบออกอยู่ณ ที่นั้น ก็ไม่พบแม้แต่กระพี้ (ของมัน) จักพบแก่นได้อย่างไร. บุรุษผู้มีจักษุ(ตามปกติ) เห็นต้นกล้วยนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, ต้นกล้วยนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ทั้งหลาย!ก็แก่นสารในต้นกล้วยนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;ภิกษุ ทั้งหลาย! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง) สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, สังขารทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็ นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็ นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ทั้งหลาย! ก็แก่นสารในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงมีได้อย่างไร.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๑๙๙

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๓๕/๒๔๕.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย! หมู่แห่งวิญญาณหกเหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา, วิญญาณทางหู, วิญญาณทางจมูก, วิญญาณทางลิ้น,วิญญาณทางกาย, และวิญญาณทางใจ. ภิกษุ ทั้งหลาย! นี้เรียกว่า วิญญาณ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๐๓

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๐/๑๑๗.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! คนทั่วไป กล่าวกันว่าวิญญาณเพราะอาศัยความหมาย

อะไรเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะกิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่

ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ. สิ่งนั้น ย่อมรู้แจ้ง

ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเปรี้ยวบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขมบ้าง,

ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง, ย่อมรู้แจ้งซึ่ง ความหวานบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง

ซึ่งความขื่นบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความความไม่ขื่นบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเค็ม

บ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะ

กิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น

สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๐๓

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๖/๑๕๙.: คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! นักแสดงกลก็ตาม ลูกมือของนักแสดงกลก็ตาม แสดงกลอยู่ที่ทางใหญ่สี่แยก. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นกลนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ กลนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ทั้งหลาย! ก็แก่นสาร ในกลนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;

ภิกษุ ทั้งหลาย! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ; ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง) วิญญาณนั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู, วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ทั้งหลาย! ก็แก่นสารในวิญญาณนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๐๔

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๓๕/๒๔๖.: คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุ ทั้งหลาย! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ?

ห้าอย่างคือ พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช ), พืชจากต้น (ขนฺธพีช), พืชจากตา

หรือผล (ผลุพีช), พืชจากยอด (อคฺคพีช), และพืชจากเมล็ด (เช่นข้าวเป็นต้น)

เป็นคำรบห้า (พีชพีช).

ภิกษุ ทั้งหลาย! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี, แต่ดิน น้ำ ไม่มี. ภิกษุ ทั้งหลาย! สิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?

หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ทั้งหลาย! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี, ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย. ภิกษุ ทั้งหลาย! สิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?

อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ทั้งหลาย! วิญญาณฐิติ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ) สี่อย่าง (รูป เวทนา สัญญา

สังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน. ภิกษุ ทั้งหลาย! นันทิราคะ พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า. ภิกษุ ทั้งหลาย! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย (วิญญาณซึ่งประกอบด้วยเหตุดังนี้) พึงเห็นว่าเหมือนกับ พืชสดทั้งห้านั้น.

ภิกษุ ทั้งหลาย! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา รูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;

ภิกษุ ทั้งหลาย! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา เวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถือความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;

ภิกษุ ทั้งหลาย! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณ

ที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;

ภิกษุ ทั้งหลาย! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณ

ที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

ภิกษุ ทั้งหลาย! ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่าเราจักบัญญัติ ซึ่งการมาการไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขารดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๐๖

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖-๑๐๗.: คลิกดูพระสูตร

 

 

 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่าภพภพดังนี้. ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่าพระเจ้าข้า !”.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบากจักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพจะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้พระเจ้าข้า !”.

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละกรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบากจักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพจะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้พระเจ้าข้า !”.

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละกรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยางของพืช  วิญญาณของสัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง(รูปธาตุ). การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบากจักไม่ได้มีแล้วไซร้, อรูปภพจะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได้พระเจ้าข้า !”.

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละกรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยางของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต(อรูปธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์! ภพย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ฉบับ ๕ แก้กรรม ? หน้าที่ ๑๕๙ บทที่ ๔๒

 (ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๒๑๑/๕๑๖.: คลิกดูพระสูตร

 

 

Today1116
Yesterday1254
This week5921
This month15939
Total2523244

Who Is Online

40
Online