Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เมื่อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมก็ย่อมไหลไปสู่ธรรม มีมรรควิธีใดที่ทำให้ธรรมไหลไปสู่ธรรมได้เร็วขึ้น

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ


บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาหาร ๔          อย่างเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่าเพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย.

อาหาร ๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ

() กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง

() ผัสสะ

() มโนสัญเจตนา

() วิญญาณ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็กพฬีการาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนภรรยาสามีสองคน ถือเอาสะเบียงสำหรับเดินทางเล็กน้อย เดินไปสู่หนทางอันกันดาร สองสามีภรรยานั้น มีบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูอยู่คนหนึ่งเมื่อขณะเขาทั้งสองกำลังเดินไปตามทาง

อันกันดารอยู่นั้น สะเบียงสำหรับเดินทางที่เขามีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้น ได้หมดสิ้นไป หนทางอันกันดารนั้น ยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองนั้นยังไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนั้นไปได้ ครั้งนั้นแล สองภรรยาสามีนั้นได้มาคิดกันว่า

"สะเบียงสำหรับเดินทางของเราทั้งสองที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนี้ได้หมดสิ้นลงแล้ว หนทางอันกันดารนี้ยังเหลืออยู่ ทั้งเราก็ยังไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนี้ไปได้ อย่ากระนั้นเลย เราทั้งสองคนพึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนี้เสีย แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้ออย่าง บริโภคเนื้อบุตรนี้แหละเดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลืออยู่นี้กันเถิด เพราะถ้าไม่ทำ เช่นนี้ พวกเราทั้งสามคนจะต้องพากันพินาศหมดแน่" ดังนี้.

ครั้งนั้นแล ภรรยาสามีทั้งสองนั้น จึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนั้น แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนั้นเทียว เดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น สอง ภรรยาสามีนั้น บริโภคเนื้อบุตรไปพลางพร้อมกับค่อนอกไปพลาง รำพันว่า "บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย" ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร?

สองภรรยาสามีนั้นจะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานบ้าง เพื่อความมัวเมาบ้าง เพื่อความประดับประดาบ้าง หรือเพื่อตบแต่ง (ร่างกาย) บ้าง หรือหนอ?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลว่า "ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า!" แล้วตรัสต่อไปว่า "ถ้าอย่างนั้นสองภรรยาสามีนั้น จะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร" เพียงเพื่อ (อาศัย) เดินข้ามหนทางอันกันดารเท่านั้น ใช่ไหม? "ใช่ พระเจ้าข้า!".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้มีอุปมาฉันใด,เราย่อมกล่าวว่า กพฬีการาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนเนื้อบุตร) ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อกพฬีการาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, ราคะ(ความกำหนัด)ที่มีเบญจกามคุณเป็นแดนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อราคะที่มีเบญจกามคุณเป็นแดนเกิด เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้ว, สังโยชน์ชนิดที่อริยสาวกประกอบเข้าแล้วจะพึงเป็นเหตุให้มาสู่โลกนี้ได้อีก ย่อมไม่มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนแม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม: ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืนพิงฝาอยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยฝาเจาะกิน; ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืนพิงต้นไม้อยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยต้นไม้ไชกิน; ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงลงไปแช่น้ำอยู่ไซร้ มันก็พึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำ ตอดกัดกิน; ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงยันอาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะกัดจิกกิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม่โคนมที่ปราศจากหนังหุ้มนั้น จะพึงไปอาศัยอยู่ในสถานที่ใด ๆ ก็ตาม มันก็จะพึงถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ กัดกินอยู่ร่ำไป, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า ผัสสาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนแม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม) ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อผัสสาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เวทนาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อเวทนาทั้งสาม เป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเสมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกเกินกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวและปราศจากควันมีอยู่. ครั้งนั้น บุรุษหนึ่ง ผู้ต้องการเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษที่มีกำลังกล้าแข็งอีกสองคน จับบุรุษนั้น ที่แขนแต่ละข้าง แล้วฉุดคร่าพาไปยังหลุมถ่านเพลิงนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้นแล บุรุษนั้น มีความคิด ความปรารถนา ความตั้งใจ ที่จะให้ห่างไกลหลุมถ่านเพลิงนั้น.ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าบุรุษนั้น ย่อมรู้ว่า "ถ้าเราจักตกลงไปยังหลุมถ่านเพลิงนี้ไซร้ เราก็จะพึงถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ" ดังนี้, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวว่า มโนสัญเจตนาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนหลุมถ่านเพลิง) ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมโนสัญเจตนาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, ตัณหาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อตัณหาทั้งสามเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็วิญญาณณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวกเจ้าหน้าที่จับโจรผู้กระทำผิดได้แล้ว แสดงแก่พระราชาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ! โจรผู้นี้เป็นผู้กระทำผิดต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอใต้ฝาละอองธุลีพระบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ลงโทษโจรผู้นี้ตามที่ทรงเห็นสมควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า". พระราชามีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า  "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารชีวิตบุรุษนี้เสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้านี้" เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหารนักโทษด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้า ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! นักโทษคนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง?". พวกเขาพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิม พระพุทธเจ้าข้า !". พระราชาทรงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารนักโทษนั้นเสีย ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน" ดังนี้. พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้นจึงได้ประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน. ต่อมา ในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! นักโทษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง? "เขาพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิมพระพุทธเจ้าข้า!". พระราชาทรงมีพระกระแสรับสั่งอีกว่า "ดูก่อนท่านทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารนักโทษนั้นเสียด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น" ดังนี้. เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงได้ประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น ว่าอย่างไร?

บุรุษนักโทษนั้นถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่ม ตลอดทั้งวัน เขาจะพึงเสวยแต่ทุกขโทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ เท่านั้นมิใช่หรือ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษนักโทษนั้น ถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารด้วยหอกแม้ (เล่มเดียว) นั่น ก็พิงเสวยทุกขโทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ (มากอยู่แล้ว) ก็จะกล่าวไปไยถึงการที่บุรุษนักโทษนั้นถูกประหารด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า วิญญาณาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนนักโทษถูกประหารนั้น) ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อวิญญาณาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, นามรูปย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อนามรูปเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยาสาวกนั้น", ดังนี้ แล.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๒๓-๓๓๔

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ.๑๖/๙๖/๒๔๐-๒๔๙ :คลิกดูพระสูตร

 

 

จุนทะ ! สัลเลขธรรม (ความขูดเกลา) เป็นสิ่งที่ เธอทั้งหลายพึงกระทำในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ กล่าวคือ :-

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ เบียดเบียน  เราจักเป็นผู้ ไม่เบียดเบียน;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น กระทำปาณาติบาต  เราจัก เว้นขาดจากปาณาติบาต;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น กระทำอทินนาทาน  เราจัก เว้นขาดจากอทินนาทาน;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น ไม่ประพฤติพรหมจรรย์   เราจักเป็นผู้ ประพฤติพรหมจรรย์;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดเท็จ  เราจัก เว้นขาดจากการพูดเท็จ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดส่อเสียด  เราจัก เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดคำหยาบ  เราจัก เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดเพ้อเจ้อ  เราจัก เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มากด้วยอภิชฌา  เราจักเป็นผู้ ไม่มากด้วยอภิชฌา;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีจิตพยาบาท  เราจักเป็นผู้ ไม่มีจิตพยาบาท;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาทิฏฐิ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาทิฏฐิ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสังกัปปะ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสังกัปปะ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวาจา  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวาจา;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉากัมมันตะ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมากัมมันตะ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาอาชีวะ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาอาชีวะ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวายามะ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวายามะ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสติ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสติ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสมาธิ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสมาธิ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาญาณะ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาญาณะ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวิมุตติ  เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวิมุตติ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีถีนมิทธะกลุ้มรุม  เราจักเป็นผู้ ปราศจากถีนมิทธะ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ฟุ้งซ่าน  เราจักเป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีวิจิกิจฉา  เราจักเป็นผู้ ข้ามพ้นวิจิกิจฉา;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มักโกรธ  เราจักเป็นผู้ ไม่มักโกรธ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ผูกโกรธ  เราจักเป็นผู้ ไม่ผูกโกรธ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ลบหลู่คุณ  เราจักเป็นผู้ ไม่ลบหลู่คุณ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ แข่งดี  เราจักเป็นผู้ ไม่แข่งดี;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ริษยา  เราจักเป็นผู้ ไม่ริษยา;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ตระหนี่  เราจักเป็นผู้ ไม่ตระหนี่;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ โอ้อวด  เราจักเป็นผู้ ไม่โอ้อวด;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีมารยา  เราจักเป็นผู้ ไม่มีมารยา;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ กระด้าง  เราจักเป็นผู้ ไม่กระด้าง;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ดูหมิ่นท่าน  เราจักเป็นผู้ ไม่ดูหมิ่นท่าน;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ว่ายาก  เราจักเป็นผู้ ว่าง่าย;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีมิตรชั่ว  เราจักเป็นผู้ มีมิตรดี;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ประมาท  เราจักเป็นผู้ ไม่ประมาท;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีศรัทธา  เราจักเป็นผู้ มีศรัทธา;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีหิริ  เราจักเป็นผู้ มีหิริ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีโอตตัปปะ  เราจักเป็นผู้ มีโอตตัปปะ;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีสุตะน้อย  เราจักเป็นผู้ มีสุตะมาก;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ขี้เกียจ  เราจักเป็นผู้ ปรารภความเพียร;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีสติหลงลืม  เราจักเป็นผู้ มีสติตั้งมั่น;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีปัญญาทราม  เราจักเป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยปัญญา;

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตนเป็นผู้ยึดถืออย่างเหนียวแน่น,

และเป็นผู้ยากที่จะสลัดคืนซึ่งอุปาทาน

เราจักเป็นผู้ ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน,เป็นผู้ไม่ยึดถืออย่างเหนียวแน่น,

และเป็นผู้ง่ายที่จะสลัดคืนซึ่งอุปาทาน.

หนังสือก้าวย่างอย่างพุทธะ หน้า ๑๙

(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๕๔/๑๐๔. คลิกดูพระสูตร

 

 

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้

๑๐ ประการเป็นไฉน คือ

อัปปิจฉกถา ๑

สันตุฏฐิกถา ๑

ปวิเวกกถา ๑

อสังสัคคกถา ๑

วิริยารัมภกถา ๑

สีลกถา ๑

สมาธิกถา ๑

ปัญญากถา ๑

วิมุตติกถา ๑

วิมุตติญาณทัสสนกถา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าเธอทั้งหลายยึดถือเอากถาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้แล้ว กล่าวเป็นกถาไซร้เธอทั้งหลายพึงครอบงำเดชแม้ของ พระจันทร์และพระอาทิตย์ ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมาก อย่างนี้ด้วยเดชได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลายเล่า ฯ

 

 (ภาษาไทย) ทสก. อํ. ๒๔/ ๑๑๔/๖๙คลิกดูพระสูตร

 

[๓๒๔] ดูกรอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่ง

เราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงเป็นผู้มีอาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อย อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเรามีอาหารเพียงเท่าโกสะ (จุในผลกระเบา) หนึ่งก็มีเพียงกึ่งโกสะก็มี เพียงเท่าเวลุวะ (จุในผลมะตูม) หนึ่งก็มี เพียงกึ่งเวลุวะก็มี ส่วนเราแลบางครั้งบริโภคอาหารเสมอขอบปากบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี. ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงมีอาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อยไซร้ บรรดาสาวกของเราผู้มีอาหารเพียงเท่าโกสะหนึ่งบ้าง เพียงกึ่งโกสะบ้าง เพียงเท่าเวลุวะบ้าง เพียงกึ่งเวลุวะบ้าง ก็จะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๕] ดูกรอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ อุทายี แต่สาวกของเราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุล ทรงจีวรเศร้าหมองเธอเหล่านั้นเลือกเก็บเอาผ้าเก่าแต่ป่าช้าบ้าง แต่กองหยากเยื่อบ้าง แต่ที่เขาทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ บ้างมาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ก็มีอยู่ ส่วนเราแล บางคราวก็ใช้คหบดีจีวรที่เนื้อแน่น ระกะด้วยเส้นด้ายมั่นคง มีเส้นด้าย เช่นกับขนน้ำเต้า (มีเส้นด้ายละเอียด) อุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึง

สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ทรงผ้าบังสุกุล ใช้จีวรเศร้าหมอง เลือกเก็บเอาผ้าเก่าแต่ป่าช้าบ้าง แต่กองหยากเยื่อบ้างแต่ที่เขาทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ บ้าง มาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือบูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๖] ดูกรอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ไซร้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในภัตตาหารทั้งสูงทั้งต่ำ เธอเหล่านั้นเมื่อเข้าไปถึงละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดีมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งก็ฉันในที่นิมนต์ แต่ล้วนเป็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เขาเก็บเมล็ดดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่าพระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วย

บิณฑบาตตามมีตามได้ บรรดาสาวกของเราที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในภัตตาหารทั้งสูงทั้งต่ำ เมื่อเข้าไปยังละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๗] ดูกรอุทายี สาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ไซร้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราถือโคนไม้เป็นวัตร ถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร เธอเหล่านั้นไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือนมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งอยู่ในเรือนยอดที่ฉาบทาทั้งข้างในข้างนอก ลมเข้าไม่ได้ มีลิ่มชิดสนิท มีหน้าต่างเปิดปิดได้ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือน ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.ด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ทรงผ้าบังสุกุล ใช้จีวรเศร้าหมอง เลือกเก็บเอาผ้าเก่าแต่ป่าช้าบ้าง แต่กองหยากเยื่อบ้างแต่ที่เขาทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ บ้าง มาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือบูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๖] ดูกรอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ไซร้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในภัตตาหารทั้งสูงทั้งต่ำ เธอเหล่านั้นเมื่อเข้าไปถึงละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดีมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งก็ฉันในที่นิมนต์ แต่ล้วนเป็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เขาเก็บเมล็ดดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่าพระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วย

บิณฑบาตตามมีตามได้ บรรดาสาวกของเราที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในภัตตาหารทั้งสูงทั้งต่ำ เมื่อเข้าไปยังละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๗] ดูกรอุทายี สาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ไซร้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราถือโคนไม้เป็นวัตร ถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร เธอเหล่านั้นไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือนมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งอยู่ในเรือนยอดที่ฉาบทาทั้งข้างในข้างนอก ลมเข้าไม่ได้ มีลิ่มชิดสนิท มีหน้าต่างเปิดปิดได้ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือน ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

       [๓๒๘] ดูกรอุทายี สาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่ง

เราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรงสรรเสริญความสงัด อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเรา ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะอันสงัด คือป่าชัฏอยู่ เธอเหล่านี้ย่อมมาประชุมในท่ามกลางสงฆ์ เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน มีอยู่ ส่วนเราแล บางคราวก็อยู่เกลื่อนกล่นไปด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรงสรรเสริญความสงัดไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะอันสงัด คือป่าชัฏอยู่ มาประชุมในท่ามกลางสงฆ์เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้แล้วพึ่งเราอยู่.    

อุทายี สาวกทั้งหลายจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรม ๕ ประการนี้แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๒๔๕/๓๑๙ : คลิกดูพระสูตร

 

 

[๓๗๙] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะ

ท่านพระมหากัสสปดังนี้ว่า ท่านกัสสป ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระอนุรุทธพยากรณ์แล้วเราขอถามท่านมหากัสสปในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่างไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสป ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านมหากัสสป ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า

ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร กัสสป เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า กัสสป ตนเองเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สันโดษด้วยตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย.

(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๒/๒๘๖/๓๗๙ : คลิกดูพระสูตร

 

 
Today1287
Yesterday1254
This week6092
This month16110
Total2523415

Who Is Online

51
Online