Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การตรวจสอบผลของการปฏิบัติธรรม ต้องทำอย่างไร และจะรู้ว่าจิตของเราจะสิ้นอาสวะ เมื่อปฏิบัติไปนานเท่าใด

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

เสียง


แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

 วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 

ภิกษุ ท.! สัญญาเจ็ดประการ เหล่านี้

อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.

 

เจ็ดประการ อย่างไรเล่า ?  คือ

อสุภสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อนิจจสัญญา

อนิจเจทุกขสัญญา ทุกเขอนัตตสัญญา.

 

ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย อสุภสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก

จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นเข้าไปในการดื่มด่ำ อยู่ในเมถุนธรรม

แต่ความวางเฉยหรือว่าความรู้สึกว่าปฏิกูล ดำรงอยู่ในจิต ; 

เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ  ย่อมหด  ย่อมงอ ไม่เหยียดออก  ฉันใดก็ฉันนั้น.

 

ภิกษุ ท.! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุภสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก

แต่จิตยังไหลเข้าไปในความดื่มด่ำอยู่ในเมถุนธรรม หรือความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลยังดำรงอยู่ในจิตแล้วไซร้ ; 

ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า “อสุภสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้วคุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี

เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา” ดังนี้.  เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้.

 

ภิกษุ ท. !    เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า

“อสุภสัญญาอันบุคคลเจริญ  กระทำให้มากแล้ว  ย่อมมีผลใหญ่  มีอานิสงส์ใหญ่ 

หยั่งลงสู่อมตะ  มีอมตะเป็นปริโยสาน” ดังนี้.

 

[ในกรณีแห่ง มรณสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากความยินดีในชีวิต (ชีวิตนิกนฺติ) ก็ดี ;

ในกรณีแห่ง อาหาเรปฏิกูลสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากตัณหาในรส(รสตณฺหา) ก็ดี ;

ในกรณีแห่ง สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากความเป็นจิตติดอยู่ในโลก (โลกจิตฺต) ก็ดี ;

ในกรณีแห่ง อนิจจสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ (ลาภสกฺการสิโลก) ก็ดี ;

ทั้งสี่สัญญานี้ ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับ อสุภสัญญา ซึ่งผู้ศึกษาสามารถทำการเปรียบเทียบดูเองได้

ต่อไปนี้ได้ตรัสถึง อนิจเจทุกขสัญญา อันมีระเบียบแห่งถ้อยคำแปลกออกไปดังต่อไปนี้ :-]

 

ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย อนิจเจทุกขสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก

สัญญาว่าความน่ากลัวอันแรงกล้า (ติพฺพาภยสญฺญา) ย่อมปรากฏขึ้นในความไม่ขยัน

ในความเกียจคร้าน ในความทอดทิ้งการงาน ความประมาท ความไม่ประกอบความเพียร และ

ในความสะเพร่า อย่างน่ากลัวเปรียบเสมือนมีเพชฌฆาตเงื้อดาบอยู่ตรงหน้า ฉะนั้น.

 

ภิกษุ ท ! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก 

แต่สัญญาว่าความน่ากลัวอันแรงกล้าในความไม่ขยัน ในความเกียจคร้าน ในความทอดทิ้งการงาน ความประมาท

ความไม่ประกอบ ความเพียร และในความสะเพร่า ก็ไม่ปรากฏขึ้นอย่างน่ากลัว

เสมือนหนึ่งมีเพชฌฆาตเงื้อดาบอยู่ตรงหน้า แล้วไซร้ ;

ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า “อนิจเจทุกขสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้ว 

คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา” ดังนี้.

เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้.

 

ภิกษุ ท.! เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้  จึงกล่าวว่า

“อนิจเจทุกขสัญญา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่

มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ  มีอมตะเป็นปริโยสาน” ดังนี้.

 

       ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย ทุกเขอนัตตสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก

ใจย่อมปราศจากมานะว่าเราว่าของเรา (อหงฺการมมงฺการมาน) ทั้งในกายอันประกอบด้วยวิญญาณนี้

และในนิมิตทั้งหลายในภายนอกด้วย เป็นใจที่ก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิธา (มานะ ๓ ชั้น) เป็นใจสงบระงับ พ้นพิเศษแล้วด้วยดี. 

 

ภิกษุ ท. ! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก

แต่ใจยังไม่ปราศจากมานะว่าเราว่าของเรา ทั้งในกายอันประกอบด้วยวิญญาณนี้

และในนิมิตทั้งหลายในภายนอก ไม่เป็นใจก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิธา ไม่สงบระงับพ้นพิเศษแล้วด้วยดีแล้วไซร้ ;

 

ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า

“ทุกเขอนัตตสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้ว  คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี 

เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา” ดังนี้.  เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้.

 

ภิกษุ ท. !   เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า

“ทุกเขอนัตตสัญญาอันบุคคลเจริญ  กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ 

มีอานิสงส์ใหญ่  หยั่งลงสู่อมตะ  มีอมตะเป็นปริโยสาน” ดังนี้.

 

ภิกษุ ท.! สัญญาเจ็ดประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว

ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน, แล.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๗๖๖-๗๖๙

 (บาลี) สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๘/๔๖. : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๕/๔๖. : คลิกดูพระสูตร

 

  

ภิกษุ ท. !  เมื่อภิกษุตามประกอบการเจริญภาวนาอยู่, โดยแน่นอน เธอไม่ต้องปรารถนา ว่า

“ โอหนอ !   จิตของเราถึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด” ดังนี้. 

จิตของเธอนั้นก็ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานได้เป็นแน่. 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?  

 

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เธอมีการเจริญ

สติปัฏฐานสี่

สัมมัปปธานสี่

อิทธิบาทสี่

อินทรีย์ห้า

พละห้า

โพชฌงค์เจ็ด

อริยมรรคมีองค์แปด.  

 

ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือน ฟองไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว พลิกให้ทั่วดีแล้ว คือฟักดีแล้ว,

โดยแน่นอนแม่ไก่ ไม่ต้องปรารถนาว่า “โอหนอ !  ลูกไก่ของเรา จงทำลายกระเปาะฟองด้วยปลายเล็บเท้า หรือ

จะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีเถิด” ดังนี้,  ลูกไก่เหล่า นั้นก็สามารถทำลายกระเปาะด้วยปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก

ออกมาโดยสวัสดีได้ โดยแท้,  ฉันใดก็ฉันนั้น.

 

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน รอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้

หรือลูกมือของพวกช่างไม้ แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้

วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น, นี้ฉันใด ;   

 

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่าวันนี้  อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้

วานนี้สิ้นไปเท่านี้  วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ รู้แต่เพียงว่า สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้า ๗๗๔, ๗๗๕

 (บาลี) สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๖/๖๘.สฬา. : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) สตฺตก. อํ. ๒๓/๙๘/๖๘.สฬา. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุ ท.! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้.

สามอย่างอะไรบ้างเล่า ?   สามอย่างคือ

๑. คฤหบดีชาวนารีบ ๆ ไถ คราดพื้นที่นา ให้ดีเสียก่อน,

๒. ครั้นแล้วก็รีบ ๆ ปลูกพืช,  

๓. ครั้นแล้ว ก็รีบ ๆ ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง. 

 

ภิกษุ ท. !  กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล;  แต่ว่า

คฤหบดีชาวนานั้น  ไม่มีฤทธิ์หรืออนุภาพที่จะบันดาลว่า

“ข้าวของเราจงงอกในวันนี้, ตั้งท้องพรุ่งนี้, สุกมะรืนนี้” ดังนี้ได้เลย,

ที่ถูกย่อมมีเวลาที่ข้าวนั้น  เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะงอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง;

 

       ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น : กิจของภิกษุ ที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้. 

สามอย่างอะไรบ้างเล่า? สามอย่างคือ

การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง,

การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง   และ

การสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง. 

 

ภิกษุ ท.! กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล; 

แต่ว่า  ภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า

“จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย  เพราะไม่มีอุปาทานในวันนี้   หรือพรุ่งนี้  หรือมะรืนนี้”  ดังนี้ได้เลย, 

ที่ถูกย่อมมีเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติไป แม้ในศีล อันยิ่ง ปฏิบัติแม้ในจิตอันยิ่ง และ

ปฏิบัติแม้ในปัญญาอันยิ่ง  จิตก็จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่มีอุปาทานได้เอง.

 

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น  ในเรื่องนี้  พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า

“ความพอใจของเราจักต้องเข้มงวดพอ ในการสมาทานปฏิบัติในศีลอันยิ่ง,

ในการสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และ

นการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ อย่างนี้แล.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๑๔๖๙-๑๔๗๐

(บาลี) ติก.  อํ  ๒๐/๓๐๙/๕๓๒.  : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) ติก.  อํ  ๒๐/๒๒๙/๕๓๒.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ! ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่งจักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งจักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง,

เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว; เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุ, ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย, ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ, ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส, และไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม.

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่งเหล่านั้น) อยู่เนือง ๆ, ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป; และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้; ความกระวนกระวาย  แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความกระวนกระวาย แม้ทางจิตอันเขาย่อมละเสียได้; ความแผดเผา (สนฺตาป)  แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้; ความเร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความเร่าร้อน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้. บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุขอันเป็นไปทางกาย ด้วย, ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิต ด้วย.

เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ;

ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ;

ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายะมะ;

สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ;

สมาธิของเขาย่อมเป็น สัมมาสมาธิ;

ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา เป็นธรรมบริสุทธิ์มาแล้วแต่เดิมนั่นเทียว. ด้วยอาการอย่างนี้แล

อัฏฐังคิกมรรค อันเป็นอริยะ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ;

 

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๓๕-๓๓๗

(บาลี) อุปริ. ม.๑๔/๕๒๒-๕๒๕/๘๒๘-๘๓๑.  : คลิกดูพระสูตร

(ไทย) อุปริ. ม.๑๔/๓๙๕-๓๙๘/๘๒๘-๘๓๑.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม

นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น

 

มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”,

ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

 

เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่

ย่อมละความระลึกและความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้.

เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้ จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี

เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

 

อานาปานสติ หน้า  ๔๗–๔๘

(บาลี)  อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๔/๒๙๔.  : คลิกดูพระสูตร

(ไทย)  อุปริ. ม. ๑๔/๑๖๑/๒๙๔.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้ ?

 

[หมวดกายานุปัสสนา]

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

 

[หมวดเวทนานุปัสสนา]

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทั้งหลายว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตนุ นั้ ในเรอื่งนี้ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

 

[หมวดจิตตานุปัสสนา]

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

 

[หมวดธัมมานุปัสสนา]

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำหายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำหายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำหายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำหายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.

 

อานาปานสติ หน้า  ๓๐–๓๕

(บาลี)  อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๐/๒๘๒.  : คลิกดูพระสูตร

(ไทย)  อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๒/๒๘๒.  : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

Today114
Yesterday265
This week1245
This month6520
Total2353863

Who Is Online

11
Online