Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

คนปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์หรือไม่

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ไม่มีการระคนด้วยหมู่เป็นที่มายินดี

ไม่ยินดีในการระคนด้วยหมู่

ไม่ตามประกอบซึ่งความยินดีในการระคนด้วยหมู่

ไม่มีคณะเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในคณะ

ไม่ตามประกอบซึ่งความยินดีในคณะแล้ว

จักเป็นผู้ผู้เดียวยินดียิ่งในปวิเวก (ความสงัดถึงที่สุด) ดังนี้นั้น :นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

เมื่อเป็นผู้ผู้เดียวยินดียิ่งในปวิเวกอยู่ จักถือเอาซึ่งนิมิตสำหรับจิตได้ ดังนี้นั้น :
นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

เมื่อถือเอาซึ่งนิมิตสำหรับจิตได้อยู่ จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

ครั้นทำสัมมาทิฏฐิได้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

ครั้นทำสัมมาสมาธิได้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้ ดังนี้นั้น :นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ;

ครั้นละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งนิพพานได้ ดังนี้นั้น :
นั่นเป็นฐานะที่มีได้, ดังนี้แล.

 

 

(ไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๗๕/๓๓๙. คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๒/๓๓๙. คลิกดูพระสูตร 

 

           ภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล

ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล

ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ.

ภิกษุทั้งหลาย! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย! บุรุษบุคคลในกรณีนี้: เป็นผู้มีศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว  

ย่อมเข้าไปหาผู้ถึงอริยสัจ (สัปบุรุษ);

เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้;

เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ;

ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม;

ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้,

ย่อมใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้;

เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่,

ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์;

เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด;

ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อมมีอุตสาหะ; ครั้นมีอุตสาหะแล้ว

ย่อมพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม ครั้นพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรมแล้ว ย่อมตั้งตนไว้ในธรรมนั้น;

ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย,

ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.

 

พุทธวจนก้าวย่างอย่างพุทธะ หน้า ๓๙

(ไทย) ม. ม. ๑๓/๑๘๑-๑๘๒/๒๓๘. คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ม. ม. ๑๓/๒๓๓-๒๓๔/๒๓๘. คลิกดูพระสูตร

 

      ๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

 

๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระหัวหน้า ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน ของพระศาสดา”...

เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า

“นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย.

ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า

“นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”. เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส… นี้ไว้.

 

พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า ๒๖๓

(ไทย) มหา. ที. ๑๐/๑๔๔-๑๔๕/๑๑๓-๑๑๖. คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๑๐๒-๑๐๓/๑๑๓-๑๑๖. คลิกดูพระสูตร  

 

 

         อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า

“ธรรมวินัยของพวกเรา มีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว

พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้.

อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.

อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย

ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.

อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี

ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;

มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.

อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.

 

พุทธวจนปฐมธรรม หน้า ๒๕๐

(ไทย) มหา. ที. ๑๐/๑๑๑/๑๒๘. คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘. คลิกดูพระสูตร



 

 

 

 

Today672
Yesterday1254
This week5477
This month15495
Total2522800

Who Is Online

79
Online