Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

เวลาที่คนหลายๆ คนมาประชุมอยู่ร่วมกัน สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ควรทำ คืออะไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่


พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันจบแล้วจึงทรงกระแอมแล้วเคาะบานประตู ภิกษุเหล่านั้นได้เปิดประตูรับ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปที่อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้จัดไว้ แล้วจึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอสนทนากันค้างไว้?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมีกถาปรารภถึงพระผู้มีพระภาคนั้นแลพวกข้าพระองค์พูดกันค้างอยู่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง

 

พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า

 

ดีละภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอผู้เป็นกุลบุตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งสนทนาธรรมีกถากัน เป็นการสมควร

 

พวกเธอเมื่อนั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่าง คือ สนทนาธรรมกัน หรือ นั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ

 

(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๒๒๐/๓๑๓ : คลิกดูพระสูตร

 

 

บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา

 

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า?

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

 

 

ส่วนสุตตันตะ เหล่าใดอันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษา เล่าเรียน.

 

 

พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

 

เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆ ได้.

 

 

ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตาปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.

 

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า. ๕๐๕

 

(ภาษาไทย) ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

คำถามที่ใกล้เคียงกัน

Today321
Yesterday423
This week321
This month8713
Total2366707

Who Is Online

18
Online