Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

อานิสงส์ของการทำบุญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างไรบ้าง และบุญกับกุศลต่างกันอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วีดีโอ1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

วีดีโอ2

 

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

วีดีโอ3

  

}

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ปุญญวิปากสูตร

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมรู้ชัดซึ่งผลแห่งบุญอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปีครั้นแล้ว เราไม่ได้กลับมายังโลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อโลกถึงความพินาศ [ถูกไฟไหม้] เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราย่อมเข้าถึงวิมานพรหมอันว่างเปล่าได้ยินว่า ในวิมานพรหมนั้น เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ใครๆ ครอบงำไม่ได้มีความเห็นแน่นอน มีอำนาจเต็ม เป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งทวยเทพ ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งอยู่ในธรรม เป็นธรรมราชามีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ชนะสงคราม มีชนบทถึงความสถาพรตั้งมั่นประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ รัตนะ ๗ ประการของเรานั้นคือ จักรแก้วช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้วเป็นที่ ๗ อนึ่งเราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ เราครอบครองปฐพีมณฑลนี้ อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศาตรา ฯ

 

(ภาษาไทย) สตฺตก อํ ๒๓/๗๕/๕๙ : คลิกดูพระสูตร

 

 

สุขที่ควรกลัว สุขที่ไม่ควรกลัว

ดูกรอุทายี กามคุณห้า เหล่านี้ กามคุณห้าเป็นไฉน คือ รูป อันพึงรู้แจ้งด้วยจักษุที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ เป็นสิ่งที่น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียง อันพึงรู้แจ้งด้วยโสต .. กลิ่น อันพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .. รส อันพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา   ... โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วยกาย ... ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ เป็นสิ่งที่น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. กามคุณห้านี้แล.

 

ดูกรอุทายี ความสุขโสมนัสที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณห้านี้ เรากล่าวว่า กามสุข ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ อันบุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรให้เกิดมี ไม่ควรทำให้มาก ควรกลัวแต่สุขนั้น.

 

ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

 

ฌานทั้งสี่นี้ เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุขเกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.

 

 

 

(ภาษาไทย) ม. ม. ๑๓/๑๔๘/๑๘๒-๑๘๓ : คลิกดูพระสูตร

 

 

 


 

อกุสลราสิสูตร กองอกุศล ๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่า กองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ กามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่า กองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.

 

 

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๖/๖๙๖-๖๙๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 


สัมมาทิฏฐิโดยปริยายสองอย่าง (โลกิยะ - โลกุตตระ)

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวแม้ สัมมาทิฏฐิว่ามีอยู่โดยส่วนสอง คือ        สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสว)๑ เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก(อุปธิเวกฺก) ก็มีอยู่,        สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อนาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร) เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ สัมมาทิฏฐิที่ว่าทานที่ให้แล้ว มี(ผล). ยัญที่บูชาแล้ว มี(ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี(ผล). ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี. โลกนี้ มี. โลกอื่น มี. มารดา มี. บิดา มี. โอปปาติกะสัตว์ มี. สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง และประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีอยู่ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ สัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปญัญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ และสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรคของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๘๗๓

 (ภาษาไทย) อุปริ. . ๑๔/๑๔๖/๒๕๖ - ๒๕๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

Today273
Yesterday423
This week273
This month8665
Total2366659

Who Is Online

11
Online