Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

การแก้กรรมตามวิธีต่างๆ ในปัจจุบันได้ผลหรือไม่ การแก้กรรมตามพุทธวจนคืออย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

 

วิดีโอ 1

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

วิดีโอ 2

บริษัท อาหารยอดคุณ  วันที่ 27 มิ.ย. 2555

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

เสียง


แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่

 อ่านหนังสือ พุทธวจน แก้กรรม ? : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง จักจำแนก ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า ?

ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

 

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์

เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์

เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)เป็นอย่างไรเล่า?

คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการ

ไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน.

ภิกษุทั้งหลาย !อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)เป็นอย่างไรเล่า?

คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนา

เป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก

การพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?

คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็น

เครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว

เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่าสัมมาอาชีวะ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูกความพอใจ

     ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด;

ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

     ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรม

อันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว;

     ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่ยังไม่บังเกิด;

      ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม

ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ

แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย !อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

    เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

     เป็นมีปกติผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลก

ออกเสียได้;

      เป็นผู้ปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตก วิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข

ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่; เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.

 

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ ๑๙/๘-๙/๓๓-๔๑  : คลิกดูพระสูตร 

 ปัจโจโรหณีสูตรที่ ๑

ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณีสนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่ม

ผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดไป ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ ผู้สนานเกล้าในวันอุโบสถ

นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ในที่ไม่ไกล ครั้นแล้ว

ได้ตรัสถามชาณุสโสณีพราหมณ์ว่า

ดูกร พราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดมายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไรของสกุลพราหมณ์

ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นวันปลงบาปของสกุลพราหมณ์ ฯ

. ดูกรพราหมณ์ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีด้วยประการไรเล่า ฯ

    

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ในวันอุโบสถสนานเกล้า

นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ทาแผ่นดิน ด้วยโคมัยอันสดลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้ว สำเร็จ

การ นอนในระหว่างกองทรายและเรือนไฟพราหมณ์เหล่านั้นย่อมลุกขึ้นประนมอัญชลี นมัสการ ไฟสามครั้งในราตรีนั้นด้วยการกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ดังนี้ และย่อมยังไฟให้อิ่มหนำด้วยเนยใส น้ำมันและเนยข้น

อันเพียงพอ และโดยล่วงราตรีนั้นไป ก็เลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยททนียโภชนียาหาร

อันประณีต ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

    

. ดูกรพราหมณ์ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีโดยประการอื่น ส่วนพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ฯ

    

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีอย่างไรเล่า ขอ

ประทานพระวโรกาส ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงแสดงธรรมโดยประการที่เป็นพิธีปลงบาป ใน

วินัยของพระอริยะแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ฯ

    

. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ฯ

     ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกร พราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าวิบากแห่งมิจฉาทิฐิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ

ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสังกัปปะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสังกัปปะ
ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวาจา ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวาจา

ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉากัมมันตะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉากัมมันตะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉากัมมันตะ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาอาชีวะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ

ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาอาชีวะ

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวายามะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ  ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวายามะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวายามะ

ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสติเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสติ

ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสมาธิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสมาธิย่อมปลงบาปจากมิจฉาสมาธิ

ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาญาณะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาญาณะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาญาณะ

ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวิมุติ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวิมุติ

ดูกรพราหมณ์ พิธีปลงบาปในวินัยแห่งพระอริยะ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล ฯ

ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า   ข้า แต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖แห่ง พิธีปลงบาปในวินัยแห่งพระอริยะนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

 (ภาษาไทย)  เอกาทสก. อํ. ๒๔/๒๐๔/๑๑๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์  เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี้ มีอยู่, เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิต

จะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์

วิจารณ์กันอย่างไร แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไป

เพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธินั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

๓ ลัทธิคือ :-

() สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนดังนี้.

() สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ของเจ้าเป็นนายดังนี้.

() สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลยดั งนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์เพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียวมีอยู่,

เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถาม ความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้วเรากล่าวกะเขาว่า

ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท ...มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง (ในเวลานี้)นั่นก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน.

เมื่อมัวแต่ถือเอากรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนมาเป็นสาระสำคัญ

ดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า

สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ)

สิ่งนี้ไม่ควรทำ(อกรณียกิจ) อีกต่อไป.

เมื่อ กรณียกิจและอกรณียกิจไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะ อย่างชอบธรรมได้ดังนี้.

หนังสือแก้กรรม หน้า ๖๐ คลิกอ่านหนังสือ

(ภาษาไทยติก. อํ. ๒๐/๑๖๗/๕๐๑. : คลิกดูพระสูตร 

 

Today103
Yesterday406
This week509
This month10309
Total2357652

Who Is Online

14
Online