Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

มรรคมีองค์ ๘ มีอะไรบ้าง

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ 1

เปิดธรรมที่ถูกปิด 2554/25

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

วิดีโอ 2

ชมรมคนรู้ใจ 22 ก.ค. 52 

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

วิดีโอ 3

เปิดธรรมที่ถูกปิด 2554/32

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : mp4, mp3

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

 อัฏฐังคิกมรรคกับนิพพาน

พระโคดมผู้เจริญ ! ธรรมเท่าไรหนอ ที่บุคคลเจริญ กระทำ ให้มากแล้วมีนิพพานเป็นที่ไป มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุดจบ ?”

นันทิยะ ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว เป็นธรรม มีนิพพานเป็นที่ไป (นิพฺพานคม). มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า (นิพฺพานปรายน) มีนิพพานเป็นที่สุดจบ (นิพฺพานปริโยสาน). แปดประการ อย่างไรเล่า? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

นันทิยะ! ธรรมแปดประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว มีนิพพานเป็นที่ไป มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุดจบ.

 

(ภาษาไทย) มหาวาร. . ๑๙/๑๐/๔๕. : คลิกอ่านพระสูตร 

อริยมรรค มีองค์ ๘

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปด คือ

ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)

ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)

วาจาชอบ (สัมมาวาจา)

การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)

อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)

ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)

ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)

ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันบาปทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว, นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสตินำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้, นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่, นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. 

 ปฐมธรรม หน้า ๒๙๕

(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙. : คลิกอ่านพระสูตร

 

 

อริยสัมมาสมาธิมีบริขารเจ็ด

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง อริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ที่มีบริขาร. เธอจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ที่มีบริขาร เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! องค์แห่งมรรคเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เหล่าใด อันเป็นองค์ ๗ ประการ ที่แวดล้อมเอกัคคตาจิตอยู่; เอกัคคตาจิตชนิดนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ดังนี้บ้าง ที่มีบริขาร ดังนี้บ้าง.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๒๘๖ - ๑๒๙๗

(ภาษาไทย) อุปริ.. ๑๔/๑๔๕/๒๕๒ - ๒๕๓. : คลิกดูพระสูตร 

 

การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด

. กลุ่มสัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า.

นำหน้าอย่างไรเล่า ? คือ เขารู้มิจฉาทิฏฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้สัมมาทิฏฐิ ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! มิจฉาทิฏฐิเป็น อย่างไรเล่า ?

นั้นคือทิฏฐิที่เห็นว่าทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) ผล, วิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี , มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี, โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มีอยู่ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ มิจฉาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวแม้สัมมาทิฏฐิว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ

สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ (สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่;

สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ (อนาสว) นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก (โลกุตฺตร) เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า? นั้นคือสัมมาทิฏฐิที่ว่าทาน ที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี, โลกนี้ มี, โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกะสัตว์ มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีอยู่ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มี อนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.

เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ เพื่อทำสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม; การกระทำของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ มีสติทำสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ.

ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อม ซึ่งสัมมาทิฏฐิ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.

. กลุ่มสัมมาสังกัปปะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า.

นำหน้าอย่างไร? คือเขารู้มิจฉาสังกัปปะ ว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะ, รู้สัมมาสังกัปปะ ว่าเป็นสัมมาสังกัปปะ; ความรู้ของเขานั้นเป็น สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า?

กามสังกัปปะ พยาปาทสังกัปปะ วิหิงสาสังกัปปะ. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ มิจฉาสังกัปปะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวแม้สัมมาสังกัปปะว่ามี ๒ ชนิด คือ

สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่;

สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เนกขัมมสังกัปปะ อัพ๎ยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมคือ ความตรึก (วิตกฺก) ความตรอง (วตกฺก) ความดำริ (สงฺกปฺป) ความคิดแน่วแน่ (อปฺปนา) ความคิดแน่วแน่ถึงที่สุด (พฺยปฺปนา) การงอกงามแห่งความคิดถึงที่สุดของจิต (เจตโส อภินิโรปนา) และเจตสิกธรรมเครื่องปรุงแต่งการพูดจา (วจีสงฺขาโร) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็น อริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.

เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ เพื่อทำสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ มีสติทำสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติเขานั้นเป็น สัมมาสติ.

ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาสังกัปปะ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.

. กลุ่มสัมมาวาจา

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า.

นำหน้าอย่างไร? คือ เขารู้มิจฉาวาจา ว่าเป็นมิจฉาวาจา, รู้สัมมาวาจา ว่าเป็นสัมมาวาจา; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! มิจฉาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? มุสาวาท ปิสุณวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปวาท. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ มิจฉาวาจา.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวแม้สัมมาวาจาว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ

สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่;

สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวาจา ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปิสุณวาท เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากผรุสวาท เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากสัมผัปปลาวาท. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาวาจา ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมคือ การงด (อารติ) การเว้นขาด (ปฏิวิรัติ) และเจตนาเป็นเครื่องเว้น (เวรมณี) จากวจีทุจริตทั้งสี่ (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะนำขึ้นสู้ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.

เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาวาจา เพื่อทำสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาวาจา มีสติทำสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ.

ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาวาจา; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.

. กลุ่มสัมมากัมมันตะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร? คือเขารู้มิจฉากัมมันตะ ว่าเป็นมิจฉากัมมันตะ, รู้สัมมากัมมันตะ ว่าเป็นสัมมากัมมันตะ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! มิจฉากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ปาณาติบาต อทินนาทานกาเมสุมิจฉาจาร. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ มิจฉากัมมันตะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวแม้สัมมากัมมันตะว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ

สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่;

สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมคือ การงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนาเป็นเครื่องเว้น จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.

เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉากัมมันตะ เพื่อทำสัมมากัมมันตะให้ถึงพร้อม ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉากัมมันตะ มีสติทำสัมมากัมมันตะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้น เป็น สัมมาสติ.

ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมากัมมันตะ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.

. กลุ่มสัมมาอาชีวะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า.

นำหน้าอย่างไร ? คือ เขารู้มิจฉาอาชีวะ ว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้สัมมาอาชีวะ ว่าเป็นสัมมาอาชีวะ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? การพูดโกหก (กุหนา) การพูดหลอกลวง (ลปนา) การพูดหว่านล้อม (เนมิตฺตกตา) การพูดทำให้เจ็บใจจนต้องยอมตกลง (นิปฺเปสิกตา) การล่อลาภด้วยลาภ (ลาเภนลาภํชิคึสนตา). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ มิจฉาอาชีวะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวแม้สัมมาอาชีวะว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ

สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่;

สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นไปสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมคือ การงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอานาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมัคคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.

เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ เพื่อทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ มีสติทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ.

ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาอาชีวะ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๒๘๖ - ๑๒๙๗

(ภาษาไทย) อุปริ.. ๑๔/๑๔๕-๑๔๙/๒๕๔ - ๒๗๘. : คลิกดูพระสูตร 

 

ผูมีความเพียรตลอดเวล

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังเดินอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิด ด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนอนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด ในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังนอนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิตย์ แล.

พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย หน้า ๑๐๖.

(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๒/๑๑ : คลิกดูพระสูตร 

   

 
Today285
Yesterday684
This week3836
This month13854
Total2521159

Who Is Online

19
Online