Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

สังขารทั้งหลาย, สังขาร, นามรูป, วิญญาน ในปฏิจจสมุปบาท คืออย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

เสียง

 


แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

 วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด mp3 : คลิกที่นี่

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ภิกษุทั้งหลาย. ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-

. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);

. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;

. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํปญฺญายติ).

ภิกษุทั้งหลาย. ! สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๔๔๘

(ไทย)  ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๖-๔๘๗. : คลิกดูพระสูตร

(บาลี)  ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗. : คลิกดูพระสูตร

 

 ภิกษุทั้งหลาย. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สังขารทั้งหลาย” เพราะอาศัยความ

หมายอะไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ ในสิ่ง

นั้น (เช่นนี้แลดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า  สังขาร.

สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ?

สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นรูป,

ย่อมปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา,

ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสัญญา,

ย่อมปรุงแต่งสังขาร ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสังขาร,

และย่อมปรุงแต่งวิญญาณ ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น

(เช่นนี้แล)  ดังนั้น สิ่งนั้น  จึงถูกเรียกว่า  สังขารทั้งหลาย.

อริยสัจจจากพระโอษฐ์(ภาคต้น) หน้า ๑๙๙

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๖/๑๕๙. : คลิกดูพระสูตร

 

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๔/๑๕๙. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง เราจักจำแนก ซึ่งปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอทั้งหลาย.

พวกเธอทั้งหลายจงฟังซึ่งธรรมนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้.

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว,

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ปฏิจจสมุปบาท (สมุทยวาร) เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!:  เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;

เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;

เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;

เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;

เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;

เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;

เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;

เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;

เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-

อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน: ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อม

มีด้วยอาการอย่างนี้.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า?

ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ : นี้เรียกว่า ชรา การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตายการทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย

การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิตจากสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ

นี้เรียกว่า มรณะ ชรานี้ด้วยมรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้;  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า?

การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย

การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชาติ

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ภพ เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ :

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!นี้เรียกว่า ภพ

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ คือ

กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน  อัตตวาทุปาทานดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า อุปาทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา

รสตัณหาโผฎฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา :ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ตัณหา.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหมู่เวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ

จักขุสัมผัสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา

ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา :

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า เวทนา.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่ผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัสส

ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัสดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ผัสสะ.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า?

จักข์วายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะกายายตนะ มนายตนะ :

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !นี้เรียกว่า สฬายตนะ.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็นามรูป เป็นอย่างไรเล่า?

เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ มนสิการ : นี้ เรียกว่า นาม.

มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย:นี้ เรียกว่า รูป.

นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า นามรูป.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหมู่วิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า วิญญาณ.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ

กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความไม่รู้อันใดแล เป็นความไม่รู้ในทุกข์,

เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,

เป็นความไม่รู้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ :

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า อวิชชา.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๒๕

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖//. : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๒/๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ความคิดนึกในรูป

ความคิดนึกในเสียง ความคิดนึกในกลิ่น ความคิดนึกในรส ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ

ความคิดนึกในธัมมารมณ์ :

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย  

 

การเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;

ความดับไม่เหลือแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;

มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร,

 ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ

การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;

สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น : นี้ เป็นอัสสาทะแห่งสังขารทั้งหลาย;...ฯลฯ...ฯลฯ

...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๓๘

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๑/๑๑๘: คลิกดูพระสูตร

 

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๖/๑๑๘: คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของนามรูป?

คำตอบ พึงมีว่า "วิญญาณ คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของนามรูป".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า แม้วิญญาณ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย, หาใช่เป็นธรรมไม่มีที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของวิญญาณ?

คำตอบ พึงมีว่า "สังขารทั้งหลาย คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของวิญญาณ".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า แม้สังขารทั้งหลาย ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย, หาใช่เป็นธรรมไม่มีที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๒๐

(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๒๗/๖๘: คลิกดูพระสูตร

 

 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอดที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ

หรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก.

ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นมาแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ส่องเข้าไปทางหน้าต่างแล้ว

จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั้นเล่า?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในทิศตะวันตก พระเจ้าข้า".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างแห่ง

พระอาทิตย์นั้นจักปรากฏอยู่ ณ ที่ไหน?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่พื้นดินพระเจ้าข้า".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น จักปรากฏในน้ำพระเจ้าข้า".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว พระเจ้าข้า"

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!   ฉันใดก็ฉันนั้นแล : ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา

ในกพฬีการาหารแล้ว ไซร้,. วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้

เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในกพฬีการาหารนั้น.

วิญญาณ ตั้งอยูไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด, การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น.

 การหยั่งลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด, ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น.

ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายไม่มีในที่ใด, การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น.

การบังเกิดในภพใหม่ต่อไปไม่มีในที่ใด, ชาติชรามรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น.

ชาติชรามรณะต่อไปไม่มีในที่ใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราเรียก "ที่" นั้นว่าเป็น  " ที่ไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้นดังนี้.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๒๘

(ไทย) นิทาน.สํ. ๑๖/๙๙/๒๔๕. : คลิกดูพระสูตร 

 

(บาลี) นิทาน.สํ. ๑๖/๑๒๒/๒๔๕. : คลิกดูพระสูตร

 

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าบุคคลย่อมคิด(เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่, ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่,

และย่อมมีจิตปักลงไป(อนุเสติ)ในสิ่งใดอยู่; สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.

เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี;

เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมมี;

เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;

เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;

เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสโดยพระพุทธเจ้าวิปัสสี(สุดลงเพียงแค่วิญญาณ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้นแล ความปริวิตกแห่งใจ ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์
ผู้เสด็จเข้าประทับอยู่ในที่หลีกเร้น ทรงหลีกเร้นอยู่; อย่างนี้ว่า"สัตว์โลกนี้หนอถึงทั่วแล้วซึ่งความยากเข็ญ
ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ
,

ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้
จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร
?"

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า
"เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะจึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะ

การทำในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า
"เพราะชาตินั่นแล
มีอยู่; ชรามรณะ จึงได้มี : เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ" ดังนี้.

...เพราะภพนั่นแล มีอยู่; ชาติ จึงได้มี : เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ". ดังนี้.

...เพราะอุปาทานนั่นแล มีอยู่; ภพ จึงได้มี : เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ". ดังนี้.

...เพราะตัณหานั่นแล มีอยู่; อุปาทาน จึงได้มี : เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน". ดังนี้.

...เพราะเวทนานั่นแล มีอยู่; ตัณหา จึงได้มี : เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา". ดังนี้.

...เพราะผัสสะนั่นแล มีอยู่; เวทนา จึงได้มี : เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา". ดังนี้.

...เพราะสฬายตนะนั่นแล มีอยู่; ผัสสะ จึงได้มี : เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ". ดังนี้.

...เพราะนามรูปนั่นแล มีอยู่; สฬายตนะ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ". ดังนี้.

...เพราะวิญญาณนั่นแล มีอยู่; นามรูป จึงได้มี : เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป". ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ลำดับนั้นแล ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า
"เมื่ออะไระมีอยู่หนอ วิญญาณจึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ". ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย
ได้เกิดขึ้นแก่ภระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นว่า
"เพราะนามรูปนั่นแลมีอยู่; วิญญาณจึงได้มี :
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ลำดับนั้นแล ความรู้แจ้งนี้ ได้มีแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์

นั้นว่า "วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป ย่อมไม่เลยไปอื่น. ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง.

ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ; 

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้น ในธรรม
ทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน
ว่า
"ความเกิดขึ้นพร้อม(สมุทัย)! ความ   เกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย)! ดังนี้.

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๕๙

(ไทย) มหา.ที. ๑๐/๒๒/๓๘: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหา.ที. ๑๐/๓๒/๓๘: คลิกดูพระสูตร

 

วัจฉะ !  เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้นสำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทาน (เชื้อ) อยู่

ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน.

วัจฉะ ! เปรียบเหมือนไฟที่มีเชื้อ ย่อมโพลงขึ้นได้

ที่ไม่มีเชื้อ ก็โพลงขึ้นไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น.

วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน.

พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไรว่าเป็น

เชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?

วัจฉะ ! สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล เราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่นแหละเป็นเชื้อ

เพราะว่า สมัยนั้นลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.

พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่ง

อะไรว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?

วัจฉะ !  สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้  และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น

เรากล่าวสัตว์นี้ว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นเชื้อ  เพราะว่า สมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น.

ภพภูมิ หน้า ๒๕

 (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๙๘/๘๐๐.: คลิกดูพระสูตร

 (ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๔๘๕/๘๐๐.: คลิกดูพระสูตร

 

นิสสิตัสสะ จะลิตัง

ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่บุคคล

ผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว

อะนิสสิตัสสะ จะลิตัง นัตถิ

ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคล

ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว

จะลิเต อะสะติ ปัสสัทธิ

เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ปัสสัทธิ ย่อมมี

ปัสสัทธิยา สะติ นะติ นะ โหติ

เมื่อปัสสัทธิมี ความน้อมไป ย่อมไม่มี

นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ

เมื่อความน้อมไปไม่มี

การมาและการไปย่อมไม่มี

อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูประปาโต นะ โหติ

เมื่อการมาและการไปไม่มี

การเคลื่อน และการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี

จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร

เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้นไม่มี

อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น

ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง

เอเสวันโต ทุกขัสสะ

นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์ละ

สาธยายธรรม หน้า ๔๔

(ไทย) อุ. ขุ. ๒๕/๑๔๔/๑๖๑.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๗/๑๖๑.: คลิกดูพระสูตร

 {/slider}{slider=เครื่องนำไปสู่ภพ}

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ  เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้

ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า!

และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า !

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี

ตัณหา (ความอยาก)ก็ดี อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และอุปาทาน(ความถือมั่น

ด้วยอำนาจกิเลส) อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดีใดๆ

ในรูปในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ

กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่าเครื่องนำไปสู่ภพ

ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ มีได้เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส

มีฉันทะ ราคะ เป็นต้นเหล่านั้นเอง.

ภพภูมิ หน้า ๘

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๒/๓๖๘.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.: คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลายถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่

และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง

วิญญาณ เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี

 

เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี

เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส

ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

 

ภิกษุทั้งหลายถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริ(โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด

แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ)ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี

เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้วความเกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป ย่อมมี

เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่

ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

 

ภิกษุทั้งหลายก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย

และย่อมไม่มีจิตฝั่งลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย

ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย

เมื่ออารมณ์ไม่มีความตั้งขึ้นเฉพาะแห่ง วิญญาณ ย่อมไม่มี

เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว

ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี

ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

ภพภูมิ หน้า ๙

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๓/๑๔๕.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.: คลิกดูพระสูตร

 

เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี;

เมื่อ สาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี :

อินทรียสังวร หน้า ๒๔

(ไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๓๔-๓๕/๖๖-๖๗.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๓-๔๔/๖๖-๖๗.: คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่าง เหล่านี้.

๕ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ :-

() พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)

() พืชจากต้น (ขนฺธพีช)

() พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)

() พืชจากยอด (อคฺคพีช)

() พืชจากเมล็ด (พีชพีช)

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า สิ่งที่ใช้เป็น พืช ๕ อย่าง เหล่านี้

ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด

ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี  แต่ดิน น้ำ ไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?

หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า สิ่งที่ใช้เป็น พืช ๕ อย่าง เหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย

ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี

ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?

อย่างนั้น พระเจ้าข้า !

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร)  พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน.

ภิกษุทั้งหลาย !  นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน) พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า.

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย พึงเห็นว่า เหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็น

ที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา

ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์

มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์  มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย

มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้

เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์

มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-

เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด)

ความเจริญ ความงอกงามและความไพบูลย์ของวิญญาณ

โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนาเว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น

นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ

ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.

เพราะละราคะได้  อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง

ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี  วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม 

หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง  เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น

เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง

เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว

เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน  ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว

กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

ภพภูมิ หน้า ๑๕

(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔-๕๕/๑๐๖-๑๐๗.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗-๖๘/๑๐๖-๑๐๗.: คลิกดูพระสูตร

 

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น

แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตน หาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้เมื่อดำรงอยู่   ปีหนึ่งบ้าง   สองปีบ้าง   สามปีบ้าง   สี่ปีบ้าง   ห้าปีบ้าง   สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง   สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ

 แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้างวิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

(ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๙๓/๒๓๐-๒๓๒  : คลิกดูพระสูตร

(บาลี) นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔/๒๓๐-๒๓๒  : คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.

 

อานาปานสติบริบูรณ์ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาวเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้นเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับหายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้ง หลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ เหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ เหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.

สติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ ก็ดีเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ก็ดีเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ก็ดีเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ก็ดีมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้สมัยนั้นสติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลงสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญาสมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อน อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญาสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่นสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดีสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.

โพชฌงค์บริบูรณ์ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลายอันอาศัยนิโรธ (ความดับอันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ,ความปล่อย);

ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้ บริบูรณ์ได้ดังนี้.

พุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๑๑ - ๒๓

(ไทย) มหาวารสํ๑๙/๓๓๕/๑๓๘๐-๑๔๐๓.: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๖/๑๓๘๐-๑๔๐๓.: คลิกดูพระสูตร

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้?

[หมวดกายานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาวเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้นเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ เหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

[หมวดเวทนานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทั้งหลายว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ เหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

[หมวดจิตตานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ เหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

[หมวดธัมมานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ เหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความ เพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.

โพชฌงค์บริบูรณ์  เพราะสติปัฏฐานบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์ได้ ?

[โพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้สมัยนั้นสติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลงสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญาภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญาสมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้วภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา,สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้นภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่จิตย่อมตั้งมั่นภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่นสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดีภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดีสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว,สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์,สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.

[โพชฌงค์เจ็ด หมวดเวทนานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออก เสียได้สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลงภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลงสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือกย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา จนจบหมวด).

[โพชฌงค์เจ็ด หมวดจิตตานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลงภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา(ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา จนจบหมวด).

[โพชฌงค์เจ็ด หมวดธัมมานุปัสสนา]

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติ ไม่ลืมหลงภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลงสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้วสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึง ความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายานุปัสสนา จนจบหมวด).

ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์ได้.

วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลายอันอาศัยนิโรธ (ความดับอันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละความปล่อย);

ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่า ทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ดังนี้.

หนังสือพุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๓๐

(ไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๕/๒๘๗-๒๙๑: คลิกดูพระสูตร

(บาลี) อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๓/๒๘๗-๒๙๑: คลิกดูพระสูตร

 

Today430
Yesterday684
This week3981
This month13999
Total2521304

Who Is Online

65
Online