Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

กามและกามคุณ ต่างกันอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วีดีโอ1

 

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

วีดีโอ2

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับกาม

ภิกษุทั้งหลาย ! ที่เรากล่าวว่ากาม นิทานสัมภวะแห่งกาม เวมัตตตาแห่งกาม วิบากแห่งกาม นิโรธแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม เป็นสิ่งที่ควรรู้แจ้งนั้น เรากล่าวหมายถึงกามไหนกันเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ.... เสียง ทั้งหลาย อันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ.... กลิ่น ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ.... รส ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา.... โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่,

ภิกษุทั้งหลาย ! อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่ ; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัยว่า กามคุณ.

 

(คาถาจำกัดความตอนนี้)

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่ ;

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา ;

อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก ตามประสาของมันเท่านั้น ; ดังนั้น

ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่ง ฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตาแห่งกาม คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี ; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

 

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้ ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๓๐๗

(บาลี) ฉกฺก. . ๒๒/๔๕๘-๔๖๐/๓๓๔. : คลิกดูพระสูตร

 

 

อาการเกิดแห่งอกุศลสังกัปปะ หรือมิจฉาสังกัปปะ

กรณีกามวิตก

ภิกษุทั้งหลาย ! กามวิตก (ความตริตรึกในกาม) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยกามธาตุ     จึงเกิดกามสัญญา;

เพราะอาศัยกามสัญญา จึงเกิดกามสังกัปปะ;

เพราะอาศัยกามสังกัปปะ จึงเกิดกามฉันทะ;

เพราะอาศัยกามฉันทะ    จึงเกิดกามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้กาม);

เพราะอาศัยกามปริฬาหะ จึงเกิดกามปริเยสนา (การแสวงหากาม)

ภิกษุทั้งหลาย ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหา กาม

ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๐๕๔

(บาลี) นิทาน.สํ. ๑๖/๑๘๑/๓๕๕ - ๓๕๖. : คลิกดูพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Today1442
Yesterday1254
This week6247
This month16265
Total2523570

Who Is Online

72
Online