Buddhawajana FAQ

Thai (th)English (UK)

วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ในนิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร

ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 

 

วิดีโอ

สนทนาธรรมค่ำเสาร์ วันที่ 16 มี.ค. 56

บรรยายธรรมโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง 10 ปทุมธานี

ดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

 พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง

 

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือน หมอช้างพึงเข้าไปสู่ป่าช้าง เขาพึงเห็นรอยเท้าช้างที่ใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดย ส่วนกว้างในป่าช้าง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ย่อมไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้ ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร?

ดูกรพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่า วามนิกา (พังค่อม) มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังวามนิกาเหล่านั้น หมอช้างนั้นก็ตามรอยช้างนั้นไป เขาตามรอยช้างนั้นไปอยู่ ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดยส่วนกว้าง และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้ ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร?

ดูกรพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่า อุจจากฬาริกา มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น หมอช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขาตามรอยเท้าช้างนั้นไปอยู่ ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดยส่วนกว้าง และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง และที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้ ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร?

ดูกรพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่า อุจจากเณรุกา มีรอยเท้าใหญ่มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น หมอช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขาตามรอยเท้านั้นไปอยู่ ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้าง โดยส่วนกว้าง ที่ซึ่งถูกเบียดสีในที่สูง ที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง และกิ่งไม้หักในที่สูง และเห็นช้างนั้น ไปที่โคนต้นไม้ ไปในที่แจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ หรือนอนแล้ว เขาย่อมถึงความตกลงใจว่า ช้างนี้เองเป็นช้างใหญ่นั้น ดังนี้ แม้ฉันใด

ดูกรพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นนั่นเทียวแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ เป็นไปกับ ด้วยเทวดา มารโลก พรหมโลก ซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปกับด้วยสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามตถาคตนั้น ย่อมแสดงธรรมงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตร หรือผู้ที่เกิดแล้วในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังคำนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่ง ศรัทธา แม้นั้น ย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลส เพียงดังธุลี บรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ หาเป็นกิจอันใครๆ กระทำได้โดยง่ายไม่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด ในสมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒ / ๒๓๘ / ๓๓๒ : คลิกดูพระสูตร



 

Today389
Yesterday408
This week2176
This month7207
Total2365201

Who Is Online

24
Online